หลังเกิดอุบัติเหตุเมื่อปี 1986 รอบๆ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลกลายเป็นพื้นที่ต้องห้ามในเข้าไปอยู่อาศัย พื้นที่ดังกล่าวปนเปื้อนไปด้วยฝุ่นรังสีและกลายเป็นพื้นที่รกร้าง ล่าสุดบีบีซีได้ลงพื้นที่สำรวจร่วมกับนักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาผลกระทบจากการปนเปื้นทางรังสีต่อสิ่งมีชีวิตที่นั่น ไปดูกันว่าผ่านไป 25 ปีพื้นที่ดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง
|
|
สัตว์หลายชนิดโดยเฉพาะนกใช้ประโยชน์จากอาคารว่างเปล่า นักนิเวศวิทยาหลายคนกล่าวว่า การไม่มีมนุษย์อาศัยอยู่ในพื้นที่เหล่านี้ทำให้ความหลากหลายทางชีวภาพค่อยๆ เพิ่มขึ้น แต่ก็มีทีมนักวิจัยบางกลุ่มที่บอกว่าพวกเขาพบหลักฐานของผลกระทบที่แฝงจากการปนเปื้อน |
|
|
|
|
ทีมนักวิทยาศาสตร์เข้าสำรวจพื้นที่ป่าเรดฟอเรสต์ (Red Forest) ซึ่งมีพื้นที่บางส่วนที่มีการปนเปื้อนรังสีค่อนข้างสูง โดยไกร์ รูดอล์ฟเซน (Geir Rudolfsen) จากสำนักการป้องกันการแผ่กระจายทางรังสีนอร์เวย์ (Norwegian Radiation Protection Authority) ได้มาสำรวจภาวะเจริญพันธุ์ของนักในพื้นที่ดังกล่าวและบอกว่าป่าในบริเวณที่มีการปนเปื้อนสูงนั้นมีการเจริญพันธุ์ที่น้อยผิดปกติ |
|
|
|
|
ทีมนักวิทยาศาสตร์ลงสำรวจพื้นที่ซึ่งห่างจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่เสียหายไม่ถึง 1 กิโลเมตร ในบริเวณที่มีการเชื่อมต่อระหว่างพื้นที่ปนเปื้อนทางรังสีและพื้นที่ซึ่งค่อนข้างปนเปื้อนน้อยกว่า พวกเขาพบว่าในพื้นที่ซึ่งปนเปื้อนทางรังสีมากกว่ามีสัตว์อาศัยอยู่น้อยกว่า |
|
|
|
|
ในขณะที่ทีมสำรวจหลักเตรียมตาข่ายเพื่อดักจับนก สมาชิกบางคนวางกับดักแบบไม่อันตรายเพื่อจับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและตรวจวัดการแผ่รังสีในทุกจุดที่วางกับดัก |
|
|
|
|
ในค่ายพักชั่วคราว ทีมสำรวจได้ทำการบันทึกรายละเอียดของนกทุกตัวที่ดักจับได้ด้วยตาข่าย โดยพวกเขาทำการวัด ชั่งน้ำหนักและเก็บตัวอย่างเลือดจากสัตว์ทุกตัวที่จับได้ |
|
|
|
|
ระหว่างออกสำรวจทีมนักวิทยาศาสตร์พบฝูงม้าป่าพรีวอลสกี (Przewalski) ซึ่งปล่อยสู่พื้นที่ต้องห้ามเมื่อปี 1998 และมีความหวังว่าม้าที่ตกอยู่ในวิกฤตเสี่ยงสูญพันธุ์นี้จะเจริญเติบโตได้ในพื้นที่ปลอดมนุษย์ พวกมันกำลังขยายพันธุ์ แต่นักวิทยาศาสตร์ในยูเครนกล่าวว่าพวกมันก็ยังคงถูกคุกคามจากการบุกรุกเข้าไปล่า |
|
|
|
|
ในหมู่บ้านโคพาชิ (Kopachi) ของยูเครนซึ่งเป็นหนึ่งในหมู่บ้านที่อยุ่ใกล้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์มากที่สุด มีโรงเรียนประถมเป็นสิ่งปลูกสร้างเดียวที่เหลืออยู่ ภายในนั้นยังคงมีร่องรอยของเล่น อุปกรณ์วาดเขียน และหนังสือหลงเหลือหลังจากเด็กๆ ถูกอพยพออกไป |
|
|
|
|
ร่องรอยส่วนหนึ่งของเมืองปริพยาต (Pripyat) เมืองที่ใหญ่ที่สุดซึ่งกลายเป็นพื้นที่ต้องห้าม ซึ่งหลังจากเกิดอุบัติเหตุผู้คนกว่า 50,000 คน ได้อพยพออกไป ถึงทุกวันนี้เป็นเรื่องยากที่จะบอกว่าเมืองแห่งนี้สิ้นสุดและเริ่มต้นที่จุดใด |
|
|
|
|
ชิงช้าสวรรค์ของเมืองปริพยาตหรืออีกชื่อหนึ่งคือ “เมืองผี” ไม่เคยถูกใช้งานจริง เพราะวันเปิดใช้งานห่างจากวันเกิดอุบัติเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไม่กี่วัน ทุกวันนี้นักท่องเที่ยวที่จะเข้าไปเมืองร้างนี้ต้องสวมหน้ากากกันฝุ่นปนเปื้อนทางรังสี |
|
|
source : http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9540000095176 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น