วันพฤหัสบดีที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2554

‘ก๊าซชีวภาพจากมูลหมู’โครงการเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

การทำงานร่วมกันบนพื้นฐานของความพอเพียง โดยผู้แทนนักศึกษา มหา วิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานีและมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ โรงเรียน และชาวบ้านในชุมชน เพื่อสร้างแหล่งเรียนรู้ “ก๊าซชีวภาพจากมูลหมู” ตัวอย่างโครงการเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนให้เป็นรูปธรรมและยั่งยืนแก่ชุมชนทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ โรงเรียนบ้านบัวยาง อ.ม่วงสามสิบ จ.อุบลราชธานี ภายใต้โครงการ แคมป์สนุกคิดกับอินทัช “เยาวชนพอดี โรงเรียนพอเพียง” โดย INTOUCH (อินทัช) หรือ บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

โครงการ “ก๊าซชีวภาพจากมูลหมู” เป็นการส่งเสริมแนวคิดทางด้านเทคโนโลยี อันเกิดจาก “ทรัพยากรและ ภูมิปัญญาท้องถิ่น” เนื่องจากโรงเรียนบ้านบัวยางอยู่ในชุมชนที่มีการเลี้ยงหมู แต่ละวันจึงมีมูลหมูเป็นจำนวนมาก จึงมี แนวคิดที่จะ “ผลิตพลังงานทดแทน” โดยนำมูลหมูมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตก๊าซหุงต้มสำหรับโครงการอาหารกลางวันของนักเรียนในโรงเรียน และขยายผลสู่ชุมชน เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่าย และเป็น การกระตุ้นให้เกิดการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ อย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุดตาม หลักการพึ่งพิงตนเอง นอกจากนี้ เป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียน รู้ด้วยการ ปฏิบัติจริง และเป็นแหล่งเรียน รู้ให้กับชุมชน นำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันต่อไป สอด คล้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

การดำเนินงานเพื่อจัดทำบ่อหมักก๊าซชีวภาพจากมูลหมู นักศึกษาและโรงเรียนร่วมกันค้นคว้าและศึกษาข้อมูลเพื่อสร้างบ่อหมักให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ และปริมาณการใช้ก๊าซเพื่อการหุงต้มสำหรับประกอบอาหารกลางวันในโรงเรียน โดยเลือกสร้างบ่อหมักก๊าซแบบยอดโดมหรือแบบฟิกส์โดม (Fixed Dome) ซึ่งเป็นบ่อก๊าซชีวภาพที่มีลักษณะเป็นโดมที่ฝังอยู่ใต้ดิน แบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือบ่อเติม บ่อหมัก และบ่อล้น โดยบ่อหมักจะมีขนาดใหญ่ที่สุด มีฝาสามารถเปิดลงไปทำ ความสะอาดหรือซ่อมแซมได้ ตัวบ่อสร้าง ด้วยการก่ออิฐแล้วฉาบด้วยปูนซีเมนต์ ส่วนที่กักเก็บก๊าซมีลักษณะเป็นโดม ขนาดความ จุ 8 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งเหมาะสำหรับการเลี้ยงหมูขุนจำนวน 10-20 ตัว ลักษณะบ่อ มีข้อดี คือ ประหยัดพื้นที่ ง่ายต่อการจัดทำรางระบายมูลหมูจากโรงเรือนไปสู่บ่อหมัก ใช้งบประมาณในการก่อสร้างน้อย และสามารถใช้วัสดุการก่อสร้างที่มีในท้อง ถิ่น ง่ายแก่การก่อสร้าง และมีประสิทธิภาพ สูงเหมาะกับการใช้พลังงานประจำวัน โดยมีนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรและช่างฝีมือในท้องถิ่น ร่วมให้คำปรึกษาและควบคุมการก่อสร้าง

ประโยชน์ที่ได้รับของโครงการ คือ ด้านพลังงาน การผลิตก๊าซชีวภาพมีการลงทุนที่ต่ำกว่าการผลิตเชื้อเพลิงชนิดอื่นๆ สามารถนำมาใช้ทดแทนพลังงานเชื้อเพลิงจากแหล่งอื่น เช่น ฟืน ถ่าน น้ำมัน ก๊าซหุงต้ม ในอนาคต โรงเรียนจะมีปริมาณ ก๊าซชีวภาพเพียงพอต่อการประกอบอาหารกลางวันให้กับนักเรียน ลดค่าใช้จ่าย ในการจัดซื้อเชื้อเพลิงแก๊สหุงต้ม 2-3 ถัง/เดือน ทำให้ประหยัดได้เดือนละประมาณ 800 บาท หรือปีละประมาณ 9,000 บาท ที่สำคัญจะเป็นพลังงานทางเลือกแทนก๊าซธรรมชาติในอนาคตต่อไป ด้านสภาพแวดล้อม การนำมูลหมูและน้ำล้างคอกหมูมาหมักในบ่อก๊าซชีวภาพสามารถช่วยกำจัดมลพิษของกลิ่น และการแพร่ระบาด ของแมลงวัน รวมถึงผลจากการหมักมูลหมูในบ่อก๊าซชีวภาพที่ปราศจากออกซิเจนเป็นเวลานานๆ จะช่วยทำลายเชื้อโรคบางชนิดในมูลสัตว์ได้ และด้านการเกษตร กากและน้ำที่ได้จากขบวน การหมักก๊าซชีวภาพสามารถนำมาทำเป็นปุ่ยอินทรีย์ เพื่อปรับปรุงดินให้อุดมสมบูรณ์ สามารถนำไปใช้ปลูกพืชผักสวน ครัว ไม้ดอกไม้ประดับ รวมทั้งการทำนา เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายในการซื้อปุ๋ยเคมีได้อีกทางหนึ่ง

ปัจจุบัน โรงเรียนสามารถต่อยอด โครงการเป็นแหล่งเผยแพร่และแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์เรื่องการประยุกต์ใช้ก๊าซชีวภาพในชีวิตประจำ วันสู่ชุมชน ซึ่งมีส่วนช่วยเสริมสร้างความ มั่นคงด้านเศรษฐกิจให้เกิดขึ้น กับโรงเรียน และชุมชน พร้อมทั้งขยายผลโครงการด้วยการ บูรณาการเข้ากับการเรียนการ สอนของโรงเรียน รวมถึง ประชาสัมพันธ์โครงการดังกล่าวไปยังชุมชนและโรงเรียนอื่นๆ   เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยว กับความสำคัญและประโยชน์ของพลังงานทดแทน

source : http://www.siamturakij.com/home/news/display_news.php?news_id=413354744

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น