จึงนำคณะสื่อ มวลชนไปประชุมสัมมนาร่วมกับผู้บริหารกลุ่มปตท. เกี่ยวกับเรื่องพลังงาน ในด้านถ่านหิน และก๊าซ ที่ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งปตท. ไปร่วมลงทุนที่นั่น
ประเทศออสเตร เลียเป็นทวีปเดียวในโลกที่ไม่มีนิวเคลียร์ แต่มีการส่งออกยูเรเนียมเกือบครึ่งหนึ่งที่ใช้กันอยู่ทั่วโลก มีถ่านหิน 9% ของทั่วโลก เป็นอันดับที่ 9 ของโลกที่ผลิตพลังงาน อัตราการผลิตมี 35% และอัตราการใช้ต่ำกว่าพลเมืองของประเทศที่มีอยู่ประมาณ 22 ล้านคน
เชื้อเพลิงหลักๆ ของออสเตรเลีย คือ 1.ถ่านหิน ซึ่งมีมากที่รัฐควีนส์แลนด์และรัฐนิวเซาท์เวลส์ 2.ยูเรเนียม และ 3.ก๊าซ จึงเป็นที่สนใจของบริษัทต่างๆ ทั่วโลก ปตท. ก็เป็นหนึ่งในบริษัทที่สนใจลงทุนในออสเตรเลียเช่นกัน
นายประเสริฐ กล่าวว่า ประเทศไทยเป็นผู้นำเข้าพลังงาน โดยการนำเข้ามีสัดส่วนครึ่งหนึ่งของการใช้พลังงานโดยรวมที่คิดเป็นมูลค่า 1.8-1.9 ล้านล้านบาท/ปี หรือคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 20% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ทำให้การนำเข้าพลังงานเป็นสัดส่วน 10% ของจีดีพี หรือประมาณ 1 ล้านล้านบาท/ปี ดังนั้น เพื่อความมั่นคงสร้างความยั่งยืนทางพลังงานให้กับประเทศไทย ปตท. จึงได้สรรหาทรัพยากร จากแหล่งพลังงานจากทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ธุรกิจไฟฟ้า โดยจะมุ่งการลงทุนไปที่การสำรวจและขุดเจาะเป็นหลัก
ทางปตท. ได้กำหนดนโยบายที่จะลงทุนในต่างประเทศมากขึ้นโดยใช้บริษัท ปตท. อินเตอร์ เนชั่นแนล จำกัดและบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) (ปตท.สผ.) เพื่อจัดหาแหล่งพลังงานเพิ่มเติมโดยเน้นการลงทุน 3 ด้านหลักๆ คือ 1.การลงทุนธุรกิจเหมืองถ่านหินในต่างประเทศ เช่น ออสเตรเลียน บรูไน มาดากัสการ์ เป็นต้น 2.ก๊าซธรรมชาติ โดยเฉพาะก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) ที่จะสร้างคลังแอลเอ็นจีลอยน้ำ (เอฟแอลเอ็นจี) ในออสเตรเลีย และ 3.โครงการผลิตไฟฟ้าในประเทศเพื่อนบ้าน ที่ใช้พลังน้ำและถ่านหิน
ปัจจุบันกลุ่มปตท. ได้เข้าลงทุนสำรวจและขุดเจาะปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติ เหมืองถ่านหิน และพลังงานทางเลือกใหม่ๆ ในออสเตรเลีย โดยใช้บริษัท ปตท. เอเชีย แปซิฟิค ไมนิ่ง (เอพีเอ็ม) และบริษัท ปตท.สผ. ออสตราเลเซีย (PTTEP Australasia) เป็นหัวหอกใหญ่ในการขุดเจาะและสำรวจปิโตรเลียม
ทั้งนี้ ธุรกิจถ่านหินนับเป็นธุรกิจใหม่ของปตท. ที่มีแนวโน้มสร้างรายได้ที่ดี เนื่องจากมีปริมาณสำรองถ่านหินทั่วโลกกว่า 120 ปี ขณะที่น้ำมันมีปริมาณสำรองเหลือเพียง 40 ปี และก๊าชธรรมชาติเหลือเพียง 60 ปี รวมทั้งถ่านหินยังเป็นเชื้อเพลิงราคาถูกอีกด้วย
เป้าหมายการลงทุนในธุรกิจถ่านหินของปตท. จะเพิ่มกำลังการผลิตเป็น 35-40 ล้านตัน ในปี"58 และขยายเป็น 70 ล้านตันต่อปี ในปี"63 โดยเน้นการขยายกิจการและขอสัมปทานใหม่ผ่านบริษัท ปตท. เอเชีย แปซิฟิค ไมนิ่ง ที่มีเหมืองในอินโดนีเซีย คือ เหมืองถ่านหิน Sebuku และเหมืองถ่านหิน Jembayan ซึ่งปัจจุบันมีการผลิตถ่านหินกว่า 10 ล้านตัน/ปี ขณะที่มีประเทศที่ปตท. ถือสัมปทานถ่านหินอยู่ ประกอบด้วยบรูไน เกาะมาดากัสการ์ และมองโกเลีย
ส่วนธุรกิจแอลเอ็นจีนั้น นายจิตรพงษ์ กว้างสุขสถิตย์ ประธานกรรมการและรักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด กล่าวว่า กลุ่มปตท. วางแผนสร้างเรือผลิตก๊าซธรรมชาติเหลว (เอฟแอลเอ็นจี หรือ floating LNG) คาดว่าจะผลิตได้ประมาณ 2 ล้านตัน/ปี ในปี"59 ซึ่งจะผลิตในออสเตรเลีย โดยจะใช้งบประมาณไม่ต่ำกว่า 3,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 1 แสนล้านบาท เบื้องต้นเป็นการลงทุนร่วมระหว่าง ปตท.-ปตท.สผ. และ SBM/Linde ประเทศเยอรมนีร่วมศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการนี้ โดยจะผลิตจากแหล่งแคชแอนด์เมเปิล ในออสเตรเลีย ซึ่งจะรู้ผลการเจาะสำรวจปริมาณสำรองได้ในปลายปีหน้า
การลงทุนครั้งนี้จะทำให้ปตท. สามารถจัดส่งก๊าซฯ กลับมาใช้ในประเทศไทยรองรับความต้องการแอลเอ็นจีที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต และมีต้นทุนที่ถูกกว่าการนำเข้าแอลเอ็นจีจากประเทศอื่น เนื่องจากตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าหรือพีดีพี มีแผนเลื่อนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ออกไป ในขณะที่โรงไฟฟ้าถ่านหินก็ยังไม่ดำเนินการได้ตามแผน ดังนั้น ในระยะยาว ก๊าซจะเป็นเชื้อเพลิงทางเลือกที่มีความจำเป็นมากขึ้น
ด้าน นายสมพร ว่องวุฒิพรชัย รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มงานโครงการต่างประเทศ ปตท.สผ. กล่าวว่า การที่ กลุ่มปตท. ลงทุนผลิต เอฟแอลเอ็นจี จะส่งผลดีต่อประเทศไทยเนื่องจากสามารถจัดหาก๊าซแอลเอ็นจีได้ในราคาถูกกว่าราคาในตลาดโลก ช่วยลดต้นทุนในการนำเข้าเพื่อผลิตไฟฟ้าในอนาคต ทั้งนี้ ปริมาณความต้องการก๊าซแอลเอ็นจีในการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเป็น 10 ล้านตัน/ปี ในระยะเวลา 5 ปีข้างหน้า จากปัจจุบันอยู่ที่ 5 ล้านตัน/ปี
ส่วนโครงการผลิตน้ำมันดิบในแหล่งมอนทารา ประเทศออสเตรเลีย นั้นจะสามารถดำเนินการผลิตน้ำมันดิบปริมาณ 40,000 บาร์เรล/วัน ได้ในไตรมาส 1 ปี"55 ซึ่งเป็นการดำเนินการตามแผนที่ได้เลื่อนมาจากการซ่อมบำรุงภายหลังประสบอุบัติเหตุ
สำหรับแผนการลงทุนในช่วง 5 ปี ของปตท.สผ. นั้น จะให้ความสำคัญกับการจัดหาแหล่งพลังงานใหม่ ตลอดจนการรักษาระดับการผลิตเดิมที่มีอยู่ โดยได้ตั้งเป้ากำลังการผลิตปิโตรเลียมไว้ที่ 9 แสนบาร์เรล/วัน ภายในปี"63 จากปัจจุบันที่มีกำลังการผลิตประมาณ 3 แสนบาร์เรล/วัน
อย่างไรก็ตาม นายประเสริฐ ได้วางนโยบายเตรียมใช้เงินลงทุนกว่า 1 แสนล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 3.3 ล้านล้านบาท ในอีก 10 ปีข้างหน้า ตั้งเป้ามีรายได้ 6.6 ล้านล้านบาท จากปัจจุบันที่มีรายได้ 2 ล้านล้านบาท เพื่อผลักดันให้ปตท. ติดอันดับอยู่ 1 ใน 100 อันดับแรกของบริษัทชั้นนำ จากการจัดอันดับของนิตยสารฟอร์จูน จากปัจจุบันอยู่ในอันดับที่ 128
เป้าหมายที่ท้าทายนี้คงต้องส่งไม้ต่อให้กับนายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ว่าที่ซีอีโอปตท. คนใหม่ ที่จะเริ่มงานหลังวันที่ 10 ก.ย.นี้
source : http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TURObFkyOHlOVE14TURjMU5BPT0=§ionid=TURNd05RPT0=&day=TWpBeE1TMHdOeTB6TVE9PQ==
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น