วันเสาร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ปัจจุบันบริษัทในประเทศไทยที่ผลิต ติดตั้ง และจำหน่ายกังหันลมมีกี่บริษัท

บริษัทแบบเชิงพาณิชย์มีที่จ​ะพอแนะนำได้ดังนี้ครับ
1. บริษัทพระพายเอ็นจิเนียริ่งhttp://www.prapai.co.th/ab​outus.php
2. Thai Wind Turbine http://www.thaiwindturbine​.com/index.html
3. บ.ไทยวินด์ฟาร์ม http://thaiwindfarm.com/
สำหรับหากสนใจลงมือทำเอง
• พี่บรรจง นักทำ....กังหันลม....จากรา​ยการ “คนค้นฅน” บ.ไทยวิลมิลล์ http://thaiwindmill.com/




คลิปวิดีโอการทำงานของทุ่งกังหันลมผลิตไฟฟ้า ขนาด 100 kW
คำถามที่พบบ่อย  (FAQ)

A : โดยทั่วไปกังหันลมผลิตไฟฟ้าจะสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด ตามแกนหมุนของกังหันลม คือ กังหันลมแกนหมุนแนวตั้ง และกังหันลมแกนหมุนแนวนอน โดยองค์ประกอบต่าง ๆ ของอุปกรณ์กังหันลมทั้งสองชนิดจะคล้ายคลึงกัน จะมีที่แตกต่างกันก็ตรงการวางชุดแกนหมุนใบพัด
ทั้งนี้กังหันลมแกนหมุนแนวตั้งมีการพัฒนาใช้งานในขนาดเล็กเป็นหลัก ส่วนขนาดใหญ่จะไม่ค่อยได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในเชิงพาณิชย์ โดยมีการใช้งานอยู่ประมาณร้อยละ 25 ของกังหันลมที่มีใช้งานในปัจจุบัน สำหรับกังหันลมผลิตไฟฟ้าแกนหมุนแนวนอนนั้น ชนิดที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและได้รับความนิยมในการใช้งานอย่างแพร่หลายในเชิงพาณิชย์มากที่สุดเป็นกังหันลมผลิตไฟฟ้าชนิดสามใบพัด ซึ่งมีการใช้งานมากถึงร้อยละ 75 ของกังหันลมที่มีใช้งานในปัจจุบัน




A : เนื่องจากประเทศไทยอยู่ใกล้เขตศูนย์สูตรจึงทำให้ได้รับแรงลมเฉลี่ยในระดับต่ำถึงปานกลางประมาณ 4 เมตรต่อวินาที ดังนั้นการใช้ประโยชน์จากพลังงานลมในระดับดังกล่าว จึงต้องมีการพัฒนารูปแบบของกังหันลมผลิตไฟฟ้าให้มีความเหมาะสมกับความเร็วลมที่มีอยู่ โดยที่ผ่านมามีหลายหน่วยงานที่ได้ศึกษาพัฒนาและผลิตกังหันลมผลิตไฟฟ้าความเร็วลมต่ำขึ้นเองเพื่อใช้งานในประเทศ ซึ่งกังหันลมที่ผลิตได้จะมีค่าลมเริ่มทำงาน (Cut in) ลมที่ผลิตพลังงานสูงสุด (Rated) และความสามารถในการผลิตได้เต็มกำลังการผลิต ที่มีความเหมาะสมกับความเร็วลมระดับต่ำถึงปานกลางของประเทศไทย ขณะที่กังหันลมที่นำเข้าจากต่างประเทศนั้นเป็นกังหันลมที่ถูกออกแบบไว้ที่ความเร็วลมสูงกว่าประเทศไทยมาก ดังนั้นการใช้งานจึงไม่ได้ประสิทธิภาพเต็มที่ เพราะการออกแบบกังหันลมให้มีกำลังผลิตสูงมากที่ความเร็วลมต่ำ จะไม่มีความคุ้มค่าในเชิงเศรษฐศาสตร์วิศวกรรม เื่นื่องจากพลังงานที่ได้จากลมจะเป็นสัดส่วนกับความเร็วลมยกกำลังสาม
นอกจากนั้นกังหันลมที่ผลิตขึ้นเองในประเทศยังมีต้นทุนที่ต่ำกว่ากังหันลมที่นำเข้าจากต่างประเทศมาก จึงทำให้ในปัจจุบันได้มีการเลือกหากังหันลมผลิตไฟฟ้าความเร็วลมต่ำมาติดตั้งใช้งานในพื้นที่ต่าง ๆ มากขึ้นในประเทศไทย ขณะที่การให้ความสำคัญในด้านพลังงานทดแทนและพลังงานหมุนเวียนของผู้บริโภคและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงปัจจัยด้านราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีแนวโน้มว่าจะทรงตัวอยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่องในอนาคต ก็จะผลักดันให้การติดตั้งกังหันลมผลิตไฟฟ้ามีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอีกมากในอนาคตอันใกล้นี้


3. สถานที่แถบใดบ้างที่สามารถใช้กังหันลมผลิตไฟฟ้าได้อย่างเหมาะสม

A : จากการศึกษาเพื่อหาความเร็วลมเฉลี่ยในพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศไทยโดยกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานพบว่า แหล่งศักยภาพพลังงานลมที่ดีของประเทศไทยมีความเร็วลมเฉลี่ยประมาณ 6.4 เมตรต่อวินาทีขึ้นไป ที่ระดับความสูง 50 เมตร ในแถบภาคใต้บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออกตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดสงขลา จังหวัดปัตตานี และที่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ จ.เชียงใหม่ อันเกิดจากอิทธิพลของลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และอีกแหล่งคือบริเวณเทือกเขาด้านทิศตะวันตกตั้งแต่ภาคใต้ตอนบนจรดภาคเหนือตอนล่างในจังหวัดเพชรบุรี จังหวัดกาญจนบุรี และจังหวัดตาก อันเกิดจากอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ส่วนแหล่งที่มีศักยภาพรองลงมาจะมีความเร็วลมเฉลี่ยที่ 4.4 เมตรต่อวินาทีขึ้นไป ซึ่งบริเวณดังกล่าวเป็นแหล่งที่มีศักยภาพลมสูงที่สุด
อย่างไรก็ตามสำหรับการติดตั้งกังหันลมผลิตไฟฟ้านั้น นอกจากจะต้องพิจารณาถึงศักยภาพของแรงลมบริเวณพื้นที่ติดตั้งแล้ว ยังต้องพิจารณาถึงประสิทธิภาพของกังหันลมที่นำมาใช้ติดตั้งด้วย เนื่องจากศักยภาพแรงลมของประเทศไทยนั้นจะไม่เหมาะกับการติดตั้งกังหันลมขนาดใหญ่ที่นำเข้าจากต่างประเทศซึ่งต้องการความเร็วลมเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 12-15 เมตรต่อวินาที ทางเลือกที่เหมาะสมในการติดตั้งกังหันลมของประเทศไทยจึงควรเป็นระบบขนาดเล็กในช่วงกำลังระดับกิโลวัตต์ที่เหมาะสม โดยในส่วนของกังหันลมผลิตไฟฟ้าความเร็วลมต่ำของพระพาย เทคโนโลยี นั้น ได้ออกแบบให้สามารถทำงานได้ที่ความเร็วลมต่ำ โดยมีค่าลมเริ่มทำงาน (Cut in) ที่ 2.5 เมตรต่อวินาที ซึ่งเป็นระดับความเร็วลมที่พบมากในแทบทุกพื้นที่ และจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการวิจัยค้นคว้าอย่างต่อเนื่องจึงทำให้การเลือกติดตั้งกังหันลมผลิตไฟฟ้าในปัจจุบันสามารถได้ประสิทธิภาพในการผลิตเต็มกำลังการผลิต และมีความเป็นไปได้ในการติดตั้งใช้งานในพื้นที่ต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น


4. การติดตั้งกังหันลมมีแบบไหนบ้าง

A : การติดตั้งกังหันลมมีหลายแบบ แต่ที่นิยมติดตั้งเพื่อใช้งานจริง มีอยู่ 2-3 แบบ คือ
  • การติดตั้งแบบ Home Stand Alone คือการติดตั้งกังหันลมผลิตไฟฟ้าแยกตาม load ต่าง ๆ ที่ต้องการใช้ไฟ
  • การติดตั้งแบบ Home Grid Stand Alone คือการติดตั้งกังหันลมผลิตไฟฟ้าป้อนจ่ายเข้าระบบสายส่งไฟฟ้าในบ้านเพื่อลดภาระค่าไฟฟ้า หรือเพื่อขายกระแสไฟฟ้ากลับ (สำหรับบางประเทศ)
  • การติดตั้งแบบ Grid Wind Farm คือการติดตั้งกังหันลมจำนวนมาก ๆ หรือต้นใหญ่ ๆ ที่มีกำลังการผลิตไฟฟ้าสูง เพื่อผลิตไฟฟ้าขายให้กับการไฟฟ้า หรือเพื่อจ่ายไฟฟ้าให้กับบ้านเรือนหลาย ๆ หลัง

5. การติดตั้งแบบ Stand Alone จะต้องใช้อุปกรณ์ใดบ้างในการติดตั้ง

A : ระบบการติดตั้งแบบ Stand Alone นิยมติดตั้งในพื้นที่ที่ห่างไกลจากสายส่งหลักหรือชุมชน โดยไม่จำเป็นต้องเดินสายส่งเข้าสู่พื้นที่ที่ต้องการใช้งาน ทำให้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการติดตั้งและค่าใช้จ่ายต่อหน่วยการใช้ไฟฟ้าถูกกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการติดตั้งที่ต้องมีการเดินสายส่งไฟฟ้ามากกว่า 1 กิโลเมตรขึ้นไป
ในการติดตั้งกังหันลมผลิตไฟฟ้าระบบ Stand Alone จะประกอบด้วยชุดอุปกรณ์หลัก ๆ ดังนี้. - ระบบควบคุมการทำงานของกังหันลม (Wind Turbine Controller) ทำหน้าที่ควบคุมแรงดันไฟฟ้าและกระแสให้เป็นไปตามความต้องการที่ระดับความเร็วลมต่าง ๆ โดยกังหันลมผลิตไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพจะมีระบบป้องกันตัวเอง (Self Protection) เพื่อควบคุมการทำงานไม่ให้ความเร็วลมของกังหันลมมากเกินไปกว่าที่ได้ออกแบบไว้
- แบตเตอรี่ (Battery Bank) ทำหน้าที่เก็บพลังงานไฟฟ้าที่ได้จากการทำงานของกังหันลม ซึ่งโดยทั่วไปแบตเตอรี่ที่ใช้จะมีแรงดันตั้งแต่ 12-48 โวลต์
- ชุดแปลงไฟฟ้า (Inverter) ทำหน้าที่แปลงไฟฟ้ากระแสตรง (DC) จากแบตเตอรี่ให้เป็นไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) พร้อมทั้งปรับแรงดันโวลต์ให้ได้ตามความต้องการใช้งานของโหลด เช่น 110V หรือ 220V โดย Inverter แต่ละรุ่นแต่ละขนาดจะมีการทำงานแตกต่างกันออกไปตามความสามารถและภาระทางไฟฟ้าที่นำไปใช้งาน ดังนั้นหากต้องการใช้ไฟฟ้ากระแสสลับก็จะต้องมีการคำนวณภาระทางไฟฟ้าที่จะใช้งานเพื่อการคัดเลือก Inverter ที่เหมาะสมต่อไป


6. การติดตั้งแบบ Home Grid Stand Alone คืออะไร

A : การติดตั้งแบบ Home Grid Stand Alone คือการติดตั้งกังหันลมผลิตไฟฟ้าป้อนจ่ายเข้าระบบสายส่งไฟฟ้าในบ้านเพื่อลดภาระค่าไฟฟ้า หรือเพื่อขายกระแสไฟฟ้ากลับ (สำหรับบางประเทศ)
โดยการทำงานของกังหันลมผลิตไฟฟ้าในระบบเชื่อมต่อนี้ เมื่อไม่มีลมหรือความเร็วลมไม่เพียงพอต่อการทำงานของกังหันลม เราก็จะใช้ไฟฟ้าจากระบบสายส่งตามปกติ และเมื่อกังหันลมผลิตไฟฟ้าทำงาน ก็จะสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้ามาใช้ทดแทนการใช้ไฟฟ้าจากระบบสายส่งปกติได้ นอกจากนี้สำหรับบางประเทศเมื่อกังหันลมที่ติดตั้งสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้ามากเกินความต้องการ เราก็จะสามารถขายกระแสไฟฟ้ากลับคืนไปทางระบบสายส่งได้เช่นกัน


7. จะรู้ได้อย่างไรว่าที่บ้านมีลมเพียงพอ หรือมีวิธีวัดลมได้อย่างไร

A : ในการพิจารณาสภาพของลม ณ ตำแหน่งที่ต้องการนั้น จะประกอบด้วยปัจจัยที่ต้องพิจารณาคือความเร็วลมและทิศทางลม ทั้งนี้ก็เพื่อให้ทราบถึงความเร็วลมในแต่ละช่วงเวลา และพลังงานลมที่จะผลิตได้ต่อเดือนและต่อปี โดยในการวัดความเร็วลมนั้นจะประกอบด้วยเครื่องมือ 2 ชนิด คือ เครื่องมือวัดความเร็วลม (Anemometer) และเครื่องบันทึกความเร็วลม (Wind Data Logger) การทำงานของอุปกรณ์จะเริ่มเมื่อมีอากาศไหลผ่านซึ่งทำให้แขนของเครื่องวัดความเร็วลมหมุนด้วยความเร็วลมเชิงเส้นในอัตราใกล้เคียงกับความเร็วของอากาศที่ไหลผ่าน หลังจากนั้นข้อมูลก็จะถูกส่งไปยังเครื่องบันทึกความเร็วลม และด้วยข้อมูลดังกล่าวก็จะช่วยให้เราสามารถประมาณค่าความเร็วลมในแต่ละช่วงเวลาเพื่อให้สามารถเลือกกังหันลมผลิตไฟฟ้าที่เหมาสมได้ต่อไป


8. กังหันลมผลิตไฟฟ้าจะสามารถลดการผลิตก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้อย่างไร เป็นจำนวนเท่าไร

A : ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ถือเป็นหนึ่งในองค์ประกอบของก๊าซเรือนกระจก (greenhouse gas) ที่เกิดขึ้นมากที่สุดจากกิจกรรมของมนุษย์ ไม่ว่าจะเกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงประเภทฟอสซิล หรือการเผาทำลายป่า โดยการผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อให้บริการแก่บ้านเรือนหรือโรงงานอุตสาหกรรม ก็เป็นหนึ่งในกิจกรรมที่ต้องนำเชื้อเพลิงชนิดต่าง ๆ มาผ่านกระบวนการผลิตที่ใช้ความร้อน และก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ขึ้น
ตารางที่ 1 การประเมินการผลิตไฟฟ้าสายส่งของประเทศในปี 2006 โดย EGAT


ที่มา: กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน

ทั้งนี้ จากการคำนวณค่าการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากเชื้อเพลิงชนิดต่าง ๆ ที่แสดงในตารางที่ 1 จะได้ว่ามีการปล่อย CO2 จากการผลิตไฟฟ้าในปี 2006 ประมาณ 87,700,079 ตัน ซึ่งสามารถนำไปคำนวณค่าการเกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2 emission factor) ของการผลิตไฟฟ้าได้ดังนี้

จากค่าที่คำนวณได้ หมายความว่าทุก ๆ 1 MWh ของการผลิตไฟฟ้า จะเกิดก๊าซ CO2 เท่ากับ 0.624 ตัน ซึ่งค่าดังกล่าวจะสามารถนำไปประเมินความสามารถในการลดการผลิตก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์จากการใช้กังหันลมผลิตไฟฟ้าได้ดังนี้
สมมติให้ใน 1 วัน กังหันลมผลิตไฟฟ้าสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้รวม 10,000 วัตต์ (10 กิโลวัตต์ หรือเท่ากับ 10 หน่วยไฟฟ้า) จากการคำนวณโดยใช้ค่าการเกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการผลิตไฟฟ้าข้างต้นจะได้ว่า


CO2 ที่สามารถลดได้
=
.
ปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้ (MWh)
x การเกิดก๊าซ CO2 ต่อการผลิตไฟฟ้า 1 MWh
=
0.01 x 0.624
=
.
0.00624 ตันคาร์บอนฯ (tCO2)
หรือเท่ากับ 6.24 กิโลกรัมคาร์บอนฯ ต่อวัน

สรุปได้ว่าหากภายใน 1 วัน กังหันลมผลิตไฟฟ้าสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 10,000 วัตต์ ก็จะสามารถช่วยลดการเกิดคาร์บอนไดออกไซต์ที่เกิดจากการผลิตกระแสไฟฟ้าได้เท่ากับ 6.24 กิโลกรัมคาร์บอนฯ ต่อวัน ซึ่งจะเป็นการช่วยลดมลพิษให้แก่สิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังเป็นการช่วยลดการนำเข้าพลังงานเชื้อเพลิงจากต่างประเทศอีกด้วย


9. ติดตั้งกังหันลมแล้วจะลดค่าไฟฟ้าได้เท่าไหร่ และจะคุ้มทุนเมื่อไหร่

A : กังหันลมผลิตไฟฟ้าจะสามารถผลิตและลดค่าไฟฟ้าได้เท่าไหร่ขึ้นอยู่กับขนาดของกังหันลมที่ใช้และสภาพลมในพื้นที่ที่ทำการติดตั้ง เช่น สมมติให้ติดตั้งกังหันลมผลิตไฟฟ้าขนาด 1000 วัตต์ โดยมีกำลังการผลิตเฉลี่ย 40% ในพื้นที่ที่มีความเร็วลม 3-6 เมตรต่อวินาที และคำนวณการไหลของลมใน 24 ชั่วโมง นำมาใช้เพียงแค่ 10 ชั่วโมง จะสามารถคำนวณหน่วยไฟฟ้าที่สามารถผลิตได้ดังนี้

หน่วยไฟฟ้าที่ผลิตได้ต่อวัน
=


ขนาดของกังหันลม x กำลังการผลิตเฉลี่ย
x ระยะเวลาของแรงลมที่นำมาใช้
=
1000 x 40% x 10
=
4000 kW/hr (4 ยูนิตไฟฟ้า)
ดังนั้นกังหันลมจะสามารถผลิตไฟฟ้าได้ประมาณ 4000 kW/hr หรือ 4 ยูนิตไฟฟ้าใน 1 วัน โดยหากมีการเปิดใช้ไฟฟ้าวันละ 10 ชั่วโมง ก็จะสามารถนำไฟฟ้าที่ผลิตได้ไปใช้กับระบบแสงสว่างภายในที่พักอาศัยด้วยหลอดฟลูออเรสเซนต์ขนาด 18 วัตต์ ได้ถึง 22 หลอด ซึ่งโดยปกตินั้นการใช้ไฟฟ้าภายในที่พักอาศัยจะใช้ไฟส่องสว่างเพียง 3-5 หลอดเท่านั้น จึงทำให้ไฟฟ้าที่ผลิตได้เพียงพอสำหรับระบบแสงสว่าง อีกทั้งยังสามารถนำไปใช้งานกับเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ๆ เช่น พัดลม ได้อีกด้วย
ในส่วนของความคุ้มทุนจากการติดตั้งกังหันลมผลิตไฟฟ้านั้นจะสามารถพิจารณาได้จากลักษณะการติดตั้งกังหันลมดังนี้
.
- กรณีติดตั้งในพื้นที่ที่ยังไม่มีไฟฟ้า การติดตั้งกังหันลมในลักษณะนี้เป็นการติดตั้งในระบบ Stand Alone เหมาะกับการติดตั้งใช้งานในพื้นที่ห่างไกลจากระบบสายส่ง เช่น ตามชนบท หรือเกาะต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการได้มากเมื่อเปรียบเทียบกับการติดตั้งที่ต้องมีการเดินสายส่ง นอกจากนี้การติดตั้งแบบ Stand Alone ยังคุ้มค่าต่อการลงทุนและเป็นผลดีต่อสิ่งแวดล้อม เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบดีเซล ที่มีค่าใช้จ่ายในการลงทุนเริ่มต้นสูง อีกทั้งยังก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมด้วย
. - กรณีติดตั้งในพื้นที่ที่มีสายส่งไฟฟ้า การติดตั้งกังหันลมในกรณีนี้ส่วนใหญ่เป็นการติดตั้งในระบบเชื่อมต่อกับสายส่ง (Grid Connected) ซึ่งเป็นระบบที่ได้รับความนิยมมากในต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่รัฐบาลมีโครงการสนับสนุน เนื่องจากการติดตั้งในระบบนี้จะช่วยลดค่าไฟฟ้าจากการใช้ไฟฟ้าในระบบสายส่งปกติ ขณะที่ไฟฟ้าที่เหลือใช้ก็สามารถนำไปขายคืนได้อีกด้วย นอกจากนี้หากเกิดเหตุการณ์ที่ไฟฟ้าดับเป็นระยะเวลานาน ๆ ไฟฟ้าที่ผลิตได้ก็จะเป็นแหล่งพลังงานสำรองที่มีมูลค่าและคุ้มค่าต่อการลงทุนมาก

ในส่วนของประเทศไทยนั้นหากรัฐบาลมีนโยบายที่จะให้การสนับสนุนโครงการด้านพลังงานลมอย่างเต็มที่ไม่ว่าจะเป็นมาตรการด้านภาษี หรือการสนับสนุนภาระค่าไฟฟ้า ก็จะทำให้ความคุ้มค่าในการลงทุนติดตั้งกังหันลมมีมากขึ้น ขณะที่ทางเลือกในการติดตั้งทุ่งกังหันลม (Wind Farm) ก็จะมีระยะเวลาคืนทุนที่เร็วขึ้นจากการขายไฟฟ้าที่ผลิตได้ให้แก่การไฟฟ้า รวมถึงรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากการขายคาร์บอนเครดิตของโครงการ


A : กังหันลมผลิตไฟฟ้าจะผลิตไฟฟ้าได้เมื่อมีความเร็วลมจนถึงระดับ Cut-In คือเพียงพอต่อการหมุนของรอบ Generator ซึ่งหากไม่มีลมหรือลมไม่เพียงพอกังหันลมก็จะไม่หมุน ซึ่งเป็นธรรมชาติของลมที่ไม่ได้พัดตลอดเวลา 24 ชั่วโมง
สำหรับวิธีที่จะให้มีไฟฟ้าต่อเนื่องสามารถทำได้หลายวิธีดังนี้
  1. ใช้ระบบ Hybrid Wind + Solar โดยเก็บพลังงานไฟฟ้าไว้ใน Battery
  2. ใช้ระบบควบคู่กับ Generator หากไฟฟ้าที่ผลิตจากกังหันลมและที่เก็บสำรองไว้ลดลง Generator ก็จะทำงานทดแทน
  3. ใช้ระบบ Source Transfer Switch (STS) ซึ่งเหมาะกับสถานที่ที่มีสายไฟฟ้าปกติเข้าถึง โดยสามารถเลือกการใช้งานได้จากกังหันลมเป็นหลัก และหากลมไม่มีก็สามารถสลับไปใช้ไฟฟ้าจากการไฟฟ้า (หรือไฟฟ้าในบ้าน) แทน หากลมมาก็ให้สลับกลับมาใช้จากกังหันลมแทน

1 ความคิดเห็น:

  1. ถ้าติดตั้งกังหันลมขนาด 100kW จำนวน10ตัว จะคิดค่าติดตั้ง ค่าดำเนินการก่อสร้าง และค่าบำรุงรักษายังไง

    ตอบลบ