วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554

IRPC ชูนโยบายพลังงานมั่นคง ผุดโรงผลิตพลังไอน้ำ-ไฟฟ้าคาร์บอนต่ำ

เนื่องจากบริษัท “ไออาร์พีซี” ได้เป็นผู้บุกเบิกอุตสาหกรรม ปิโตรเคมีครบวงจรแห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีโรงกลั่นน้ำมัน และโรงงานปิโตรเคมีตั้งอยู่ย่านชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก ตำบลเชิง เนิน อำเภอเมืองระยอง จังหวัด ระยอง

ซึ่งเป็นเขตประกอบการอุตสาหกรรม ภายใต้การจัดการของบริษัท พร้อมสาธารณูปโภคพื้นฐานที่สนับสนุนการดำเนินธุรกิจ ทั้งท่าเรือน้ำลึก คลังน้ำมัน และ โรงไฟฟ้า ดังนั้น การทำอุตสาหกรรมดังกล่าวถือเป็นส่วนหนึ่งที่อาจจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนละแวกใกล้เคียง ทำให้ทางไออาร์พีซีได้เปิดโรงผลิตพลังไอน้ำและไฟฟ้าร่วมมาตรฐานมงกุฎไทย (Crown Standard) ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติแทนหน่วยผลิตไอน้ำที่ใช้น้ำมันเตาทั้งหมด เพื่อลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และปกป้องชุมชน

นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร กรรมการและรักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) บอกว่า จากการเล็งเห็นถึงปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อม และชุมชน อีกทั้งต้องการสนองนโยบายรัฐบาลทั้งด้านความมั่นคง การใช้พลังงาน สะอาดและการมีส่วนร่วมของชุมชนมั่นใจ ไร้ปัญหาในอนาคต

ล่าสุด ทางบริษัทได้เปิดโรงผลิตพลังไอน้ำและไฟฟ้าร่วมจากก๊าซธรรมชาติ (Combined Heat and Power Plant) ณ เขตประกอบการอุตสาหกรรม จังหวัดระยอง โดยโรงผลิตพลังไอน้ำและไฟฟ้าร่วมจากกก๊าซธรรมชาติ (Combined Heat and Power Plant) เป็นโรงงานขนาดกำลังผลิตไอน้ำ 408 ตันต่อชั่วโมง และกำลังผลิตไฟฟ้าขนาดกำลังผลิต 220 เมกะวัตต์ ของ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) ณ เขตประกอบการอุตสาหกรรม ไออาร์พีซี จังหวัดระยอง

“โครงการนี้ เป็นโครงการที่สอดคล้อง กับนโยบายด้านพลังงานของประเทศทั้งในแง่ของการเสริมสร้างความมั่นคงให้กับระบบการผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยพลังงานสะอาด การรักษาสิ่งแวดล้อมและลดผลกระทบจากกระบวนการผลิตไฟฟ้า รวมถึงการเปิดโอกาสให้ชุมชนในพื้นที่ได้มี ส่วนร่วม ตั้งแต่การเริ่มโครงการเพื่อสร้างการพัฒนา ที่ยั่งยืน” ต่อชุมชนเขาบอกต่อว่า โครงการนี้ สร้างขึ้น เพื่อทดแทนการผลิตไอน้ำที่ใช้น้ำมันเตา ซึ่ง ไออาร์พีซี ได้หยุดและยกเลิกหน่วยผลิตดังกล่าวครบทั้งหมดแล้ว หลังจากที่ได้ทยอยปลดระวางตั้งแต่เดือนมีนาคมที่ผ่านมา

ทั้งนี้ โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของพันธสัญญาระหว่าง ไออาร์พีซี และชุมชน ในการร่วมมือกันเพื่อลดและป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อันอาจเกิดจากกระบวนการผลิตในภาคอุตสาหกรรม ขณะเดียวกันยังส่งผลดี ในการลดต้นทุนของ บริษัทด้วย ทั้งนี้ หลังจากเริ่มดำเนินการผลิตเชิงพาณิชย์เมื่อเดือนมิถุนายน บริษัท สามารถลดต้นทุนค่าไฟฟ้าและสาธารณูปโภค ลงร้อยละ 16 ซึ่งเป็นไปตามผลการศึกษา ที่คาดการณ์ว่าโครงการนี้จะช่วยลดการใช้น้ำมันเตาในการผลิตไอน้ำและไฟฟ้าได้ 240,000 ตันต่อปี หรือช่วยประหยัดต้นทุนการผลิตได้ 5 ล้านบาทต่อวัน หรือ 150 ล้านบาทต่อเดือน

สำหรับแผนการดำเนินการหลังจากนี้ ไออาร์พีซี จะดำเนินงานตามแผนงานของโครงการฯ ในการขายคาร์บอนเครดิต ให้กับสหประชาชาติตามอนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อนำรายได้ส่วนหนึ่งมาจัดตั้งกองทุนพัฒนาชุมชนและสิ่งแวดล้อมภายนอกพื้นที่โครง การ อันเป็นเป้าหมายสำคัญที่จะเพิ่มความ ร่วมมือระหว่าง ไออาร์พีซี และชุมชน ในการสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืนให้กับชุมชนโดยรอบและประเทศชาติต่อไป

อย่างไรก็ตาม การดำเนินการโครงการนี้บริษัทได้ปรับใช้ต้นแบบจากการดำเนินงานของโรงไฟฟ้าถ่านหินอิโซโกะ ประเทศญี่ปุ่น โดยเฉพาะกระบวนการบริหารจัดการที่ดีทั้งการผลิตและการรักษา สิ่งแวดล้อมที่ทำให้สามารถอยู่ร่วมกับชุมชนมานานกว่า 30 ปี ซึ่งขณะนี้ก็พิสูจน์ให้เห็นถึงผลสำเร็จที่เกิดขึ้น ทั้งในแง่การมีส่วนร่วมกับชุมชน การลดปัญหาสิ่งแวดล้อมและการสร้างผลตอบแทนทางธุรกิจ ดังนั้นโรงไฟฟ้าแห่งนี้จะถูกนำไปใช้เป็นต้น แบบการดำเนินงานให้กับโรงงานอุตสาหกรรมอื่นๆ ของเครือปตท.และโรงงานอุตสาหกรรมในจังหวัดระยอง

“นับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2549 ที่เริ่มศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ ไออาร์พีซี มุ่งมั่นและทุ่มเทการดำเนินงาน ทุกขั้นตอนอย่างระมัดระวัง เพราะจะเป็น บทพิสูจน์สำคัญให้เห็นว่า เราพร้อมที่จะเป็นสมาชิกรายหนึ่งของชุมชนแห่งนี้ นับตั้งแต่การทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบ สิ่งแวดล้อม (EIA) การรับฟังความคิดเห็น จากทุกภาคส่วน ที่ใช้เวลาเกือบ 2 ปี ก่อนที่จะเริ่มก่อสร้างเมื่อกันยายน 2552 และเปิดดำเนินการอย่างเป็นทางการ แม้จะใช้ เวลามากกว่าแผนที่วางไว้ แต่ก็เป็นความ ภาคภูมิใจของชาว ไออาร์พีซี ทุกคน ที่ได้มีโอกาสเรียนรู้และได้ร่วมมือเพื่อสร้าง โครงการที่ดีให้กับบ้านและชุมชนเพื่อนบ้านของเรา”

สำหรับโรงผลิตพลังไอน้ำและไฟฟ้า ร่วมแห่งนี้ ใช้เงินลงทุนประมาณ 8,000 ล้านบาท ประกอบด้วยหน่วยผลิตจำนวน 6 หน่วย โดยจะผลิตไฟฟ้าป้อนให้กับโรงงานต่างๆ ในเขตอุตสาหกรรม ไออาร์พีซี ที่สามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 400,000 ตัน/ปี และได้รับรางวัลมาตรฐานมงกุฎไทย (Crown Standard) จากองค์การบริหารจัดการก๊าซ เรือนกระจก (องค์การมหาชน)

ผู้บริหาร บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) บอกทิ้งท้ายว่า ในฐานะที่บริษัท ได้แสดงถึงความมุ่งมั่นและทุ่มเทในการ ปรับปรุงกระบวนการผลิตและการดำเนิน งานของโครงการ เพื่อลดการเกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน ให้น้อย ที่สุด โดยสามารถลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากที่สุดของประเทศไทย และเป็นความภูมิใจที่เป็นโครงการแรกของจังหวัดระยอง ที่ได้รับรางวัลอันทรงเกียรตินี้ อีกทั้งยังเป็นโรงไฟฟ้าและโรงงานอุตสาหกรรมแห่งแรกในจังหวัดระยองที่ดำเนินการตามกระบวนการเรื่องสิ่งแวดล้อมของ EIA อีกด้วย


source:http://www.siamturakij.com/home/news/display_news.php?news_id=413355433

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น