วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554

การผลิตกล้าไม้ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม


การผลิตกล้าไม้ เพื่อแจกจ่ายให้กับหน่วยงานราชการ องค์กรเอกชน และประชาชนทั่วไป เป็นอีกหนึ่งภารกิจที่สำคัญกรมป่าไม้ ในการอนุรักษ์ ฟื้นฟูเพิ่มพื้นที่ป่า เพิ่มสีเขียวให้กับโลกใบนี้ ซึ่งแต่ละปีมีการเพาะชำ กล้าไม้ 20-30 ล้านกล้า ฉะนั้นในขบวนการผลิต การจัดหาวัสดุมาใช้ในการผลิตกล้าไม้ การใช้ปุ๋ย และสารเคมีเพื่อควบคุมและกำจัดศัตรูพืช ย่อมจะส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม กรมป่าไม้ได้ตระหนักถึง ผลกระทบดังกล่าว จึงได้กำหนดนโยบายการผลิต กล้าไม้ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมขึ้น

ทั้งนี้โดยล่าสุดได้มีการจัดสัมมนาทางวิชาการ เรื่องแนวทางการผลิตกล้าไม้ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมขึ้น เพื่อเป็นการเพิ่มองค์ความรู้ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ในด้านการผลิตกล้าไม้ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ของ ส่วนเพาะชำกล้าไม้ สำนักส่งเสริมการปลูกป่า กรมป่าไม้ รวมทั้งสร้างความตระหนักในการปรับเปลี่ยนการบริหาร จัดการกระบวนการผลิตกล้าไม้ที่ต้องคำนึงถึงผลกระทบ ต่อสิ่งแวดล้อม ปลอดจากการใช้สารเคมี ทั้งจากปุ๋ย และยาฆ่าแมลงตลอดจนสารกำจัดวัชพืช

นายสุวิทย์ รัตนมณี อธิบดีกรมป่าไม้ กล่าวว่า กรมป่าไม้มีการผลิตกล้าไม้ประมาณ 20-30 ล้านกล้าต่อปี เพื่อแจกจ่ายให้กับประชาชนในโครงการปลูกป่า เพื่อฟื้นฟูและเพิ่มพื้นที่ป่าให้กลับมาสมบูรณ์ รวม ทั้งใช้ในการส่งเสริมการปลูกสร้างสวนป่าไม้เศรษฐกิจ เพื่อนำไม้มาใช้ประโยชน์ให้มีไม้ใช้สอยเพียงพอกับความต้องการทั้งด้านพลังงานทดแทนและผลิตภัณฑ์ ที่ทำจากไม้ของประเทศ ซึ่งกระบวนการผลิตกล้าไม้ดังกล่าว ต้องปลอดจากการใช้สารเคมี หรือสารพิษที่ตกค้างหลังจากการใช้งาน ออกสู่สิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด

ส่วนการดำเนินงาน กรมป่าไม้ได้จัดสัมมนาให้ความรู้กับบุคลากรในสำนักส่งเสริมการปลูกป่าส่วนเพาะชำกล้าไม้ทุกจังหวัดทั่วประเทศมาอบรมเพิ่มพูนความรู้ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในด้านการผลิตกล้าไม้ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในเรื่องการใช้วัสดุเพาะชำกล้าไม้เพื่อสิ่งแวดล้อม การใช้สารสกัดทางธรรมชาติต่างๆ เพื่อทดแทนการใช้สารเคมี โดยได้รับ ความร่วมมือจากหน่วยงานที่มีองค์ความรู้ในด้านต่างๆ เช่น การใช้สารสกัดสมุนไพรในการป้องกันกำจัดโรคและแมลง การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพสำหรับกล้าไม้ จากสำนักเทคโนโลยีชีวภาพทางดิน กรมพัฒนาที่ดิน การใช้วัสดุย่อยสลายได้ในการเพาะชำกล้าไม้ จากสำนักงาน นวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) แนวทางการจัดการป่าไม้สำหรับคาร์บอน เครดิต จากองค์การบริหารก๊าซเรือนกระจก (องค์กรมหาชน) เป็นต้น

สำหรับเทคโนโลยีการผลิตและการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพนั้น แต่ละสถานี และศูนย์เพาะชำกล้าไม้ได้ดำเนินการใช้ปุ๋ยอินทรีย์มากขึ้นในการบำรุงกล้าไม้ที่เพาะชำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปุ๋ยพืชสด โดยได้รับการสนับสนุนจากกรมพัฒนาที่ดินมาให้ความรู้ในการผลิตปุ๋ยหมัก ซึ่งทางกรมพัฒนาที่ดินมีสารเร่งซุปเปอร์ พด. ในสูตรต่างๆ วิธีการใช้พืชปุ๋ยสด รวมทั้งปุ๋ยชีวภาพเป็นปุ๋ยที่ได้จากการนำจุลินทรีย์ที่มีชีวิต ที่สามารถสร้างธาตุอาหารหรือช่วยให้ธาตุอาหารเป็นประโยชน์กับพืชมา ใช้ในการปรับปรุงดินทางชีวภาพ กายภาพหรือทางเคมี ทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์เพิ่มขึ้น รวมทั้งการใช้ น้ำหมักชีวภาพ

นอกจากนี้ยังลดการใช้สารเคมี มาใช้จุลินทรีย์ควบคุมโรคพืชและสารสกัดสมุนไพรควบคุมแมลงศัตรูพืช ซึ่งปัจจุบันได้มีการนำสารอินทรีย์ ที่สกัดจากพืชสมุนไพรมาใช้เป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นการใช้น้ำส้มควันไม้มาผสมกับสารเร่งซุปเปอร์ พด.7 ผลิตสารควบคุมแมลงศัตรูพืชได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งมีพืชสมุนไพรหลายอย่างมานำมาผลิตสารไล่หรือควบคุมแมลงได้เช่น มันแกว ว่านน้ำ สะเดา หนอนตายหยาก ขมิ้นชัน ยาสูบ ดีปลี หางไหล กลอย พริก น้อยหน่า สาบเสือ หญ้าฝรั่งเศส เบญจมาศ บอระเพ็ด สามโสก ตะไคร้หอม ไพล เสม็ดขาว ข่า กะเพรา เปลือกมังคุด ซึ่งสมุนไพรเหล่านี้มีสารออกฤทธิ์แตกต่างกันไป รวมทั้งวิธีการสกัดนำสารออกฤทธิ์มาใช้ อธิบดีกรมป่าไม้กล่าวเพิ่มเติมว่า ในการผลิตกล้าไม้ นอกจากเรื่องการใช้ปุ๋ย ยา สารเคมีแล้ว วัสดุที่ใช้เพาะชำกล้าไม้ก็เป็นเรื่องใหญ่ กรมป่าไม้มีนโยบายที่จะใช้ถุงพลาสติกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จึงได้มีโครงการ "ถุงพลาสติกชีวภาพสำหรับการเพาะชำกล้าไม้" ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างกรมป่าไม้ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สนช. ด้วยการ สนับสนุนจากสมาคมอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพไทย ในการศึกษาแนวทางการพัฒนาถุงเพาะชำกล้าไม้จากพลาสติกชีวภาพที่สลายตัวได้ทางชีวภาพ เพื่อไม่ให้เกิดขยะพลาสติกที่เป็นมลภาวะกับสิ่งแวดล้อม โดยได้ตั้งคณะทำงานร่วมกันเพื่อดำเนินการโครงการนำร่อง เพื่อศึกษาเปรียบเทียมการใช้งานจริงร่วมกันตลอดจนการพัฒนาสูตรคอมพาวด์พลาสติกชีวภาพ และการผลิตให้เหมาะสมเพื่อผลิตถุงเพาะกล้าไม้ มาตั้งแต่มกราคม 2553 ขณะนี้ได้ดำเนินการทดสอบเก็บข้อมูลการใช้งานที่จะต้องไม่ฉีกขาดภายใน 1 ปี ในเบื้องต้นพบว่าจะต้องมีการปรับสูตรเพิ่มความเหนียว และหนา เน้นสี และการปรับเปลี่ยนรูปแบบเรื่องสี ขนาด หรือการใช้งานนอกจากการเพาะชำยังมีถุงหิ้ว สำหรับแจกกล้าให้ประชาชนก็จะเป็นถุงพลาสติกย่อยสลายอีกเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม ในการดำเนินงานของส่วนเพาะชำกล้าไม้ สำนักส่งเสริมการปลูกป่า กรมป่าไม้ ถือว่าเป็นต้นทางในการที่จะเพิ่มพื้นที่สีเขียวและลดภาวะโลกร้อน นอกจากได้ตระหนักในขบวนการผลิต ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังให้ความสำคัญในการพัฒนาขบวนการผลิตกล้าไม้ให้ได้คุณภาพ ตามความต้องการ ทั้งเพื่อการอนุรักษ์พันธุ์ไม้ การปลูกเพื่อเพิ่ม พื้นที่ป่า การปลูกเพื่อการใช้สอย ทดแทนการนำเข้าไม้ จากต่างประเทศ การปลูกไม้เพื่อเป็นพลังงานทดแทน เป็นภารกิจที่ทางกรมป่าไม้ให้ความสำคัญและมีความภาคภูมิใจของชาวป่าไม้ทุกคน

source:http://www.naewna.com/news.asp?ID=279689

1 ความคิดเห็น:

  1. ผมต้องเป็นพยานถึงการกระทำที่ดีของนางอแมนดาของ บริษัท สินเชื่ออแมนดา ผม Husnah และฉันสละเวลาของฉันออกไปให้ปากคำของนางอแมนดาเพราะในที่สุดเธอก็ให้ฉันสิ่งที่ไม่มีใครสามารถ
    ฉันและสามีของฉันได้เป็นหนี้ที่ใหญ่มากกับลูกหนี้และธนาคารและเราพยายามที่ยืมตัวมาจาก บริษัท สินเชื่อที่แตกต่างกัน แต่ทั้งหมดมาจะไม่มีประโยชน์ แทนพวกเขามีเราเป็นหนี้มากขึ้นและสิ้นสุดวันที่ออกจากเราล้มละลายจนกว่าฉันจะมาติดต่อกับนางอแมนดาเธอให้ฉันเงินกู้แม้ว่าตอนแรกผมก็กลัวว่ามันจะจบลงเช่นเดียวกับทุก บริษัท เงินกู้อื่น ๆ ที่ฉันมาข้าม แต่เธอก็ไม่ได้ เช่นพวกเขา ตอนนี้เรามีการตัดสินในที่สุดหนี้ของเราและเริ่มต้นธุรกิจใหม่ที่มีเงินเหลือจากการกู้ยืมเงิน
    ติดต่อนางอแมนดาผ่านของอีเมลดังต่อไปนี้ amandaloan@qualityservice.com หรือ amandaloanfirm@cash4u.com หรือคุณสามารถติดต่อเราผ่านทางอีเมลของฉันสำหรับคำสั่งต่อไป ikmahusnah@gmail.com

    ตอบลบ