วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554

สู่ทิศทางบริหารองค์กรอย่างยั่งยืน

เรื่องของ Green Productivity จะเข้ามามีส่วนในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน เมื่อประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเกิดขึ้นในอีก 4 ปีข้างหน้า

ในช่วงหลังมานี้กระแสการเปลี่ยนแปลงด้านสภาวะแวดล้อมของโลก ดูเหมือนว่าจะกลายเป็นวิกฤตการณ์ที่เกิดบ่อยครั้งมากขึ้น และเกิดในทั่วทุกมุมโลกจริงๆ ที่สำคัญเกิดแต่ละครั้งรุนแรงจนมาตรการและโครงสร้างต่างๆที่มนุษย์คิดและสร้างไว้เพื่อป้องกันภัยต่างๆพังทลาย เหมือนว่าจะใช้ไม่ได้ผลเสียเลย ดังนั้นนอกจากการแก้ไขและเยียวยาปัญหาที่เกิดขึ้นแล้ว แนวคิดการยับยั้งและป้องกันที่แหล่งกำเนิด ได้กลายเป็นประเด็นที่ต้องเร่งทบทวนอย่างรวดเร็ว


ในประเทศไทยเริ่มมีเวทีที่อภิปรายถึงปัญหาสภาวะแวดล้อมโลก และแนวทางใหม่ ๆที่จำเป็นต้องเพิ่มเติมเข้าไปในระบบเศรษฐกิจและการค้าโลกบ่อยครั้งขึ้น เมื่อวันพุธที่ 31 สิงหาคมที่ผ่านมา สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ กระทรวงอุตสาหกรรม จับมือกับอีก 2 หน่วยงานสำคัญคือ สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา และ กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จัดสัมมนาแลกเปลี่ยนความรู้ในหัวข้อจับตาแนวโน้มกระแสสีเขียว สู่ทิศทางการบริหารองค์กรอย่างยั่งยืน” ซึ่งมีประเด็นน่าสนใจและควรเผยแพร่สร้างความเข้าใจในประเทศมากขึ้น


ด้วยเห็นว่าจากการเพิ่มขึ้นของประชากร ความสาเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมที่ผ่านมาทำให้มีการขยายตัวการผลิตและบริโภคอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เกิดการใช้ทรัพยากรกันอย่างฟุ่มเฟือย และความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม นำไปสู่การเกิดผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม รวมไปถึงภาวะโลกร้อน (Climate change) ซึ่งส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อมนุษยชาติ ดังที่ปรากฎเกี่ยวกับภัยธรรมชาติที่ได้เกิดขึ้นในทั่วทุกมุมโลก ไม่ว่าจะเป็นแผ่นดินไหว น้าท่วม ดินถล่ม สึนามิ ฯลฯ


จนกลายเป็นสิ่งย้ำเตือนให้มนุษย์เริ่มตระหนักว่า หากไม่หยุดยั้งการทำลายธรรมชาตินับแต่วันนี้ ก็ไม่อาจคาดเดาได้ว่าจะเกิดภัยพิบัติร้ายแรงอะไรขึ้นอีกบนโลกใบนี้ ปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมที่เด่นชัดขึ้นเรื่อยๆ ทาให้สังคมโลกตั้งคำถามถึงการสร้างความสมดุลระหว่างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนสาคัญที่ทำให้ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนในหลายประเทศต่างหันมา Going Green และนำประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมเข้าไปสู่ในกระบวนการผลิตและการบริโภคมากขึ้น เพื่อความยั่งยืนของธุรกิจและสังคม


การพัฒนาที่ยั่งยืน Sustainable Development กลายมาเป็น Megatrend ที่สำคัญของการดำเนินธุรกิจในยุคปัจจุบัน การดำเนินธุรกิจภายใต้กรอบแนวคิดของความยั่งยืนดังกล่าว ไม่เพียงแต่ส่งผลดีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม หากยังถือเป็นโอกาสทางธุรกิจอย่างหนึ่ง เนื่องจากผู้บริโภคในยุคปัจจุบันเอง ก็ให้ความสาคัญกับเรื่องดังกล่าวมากขึ้น องค์กรหรือธุรกิจสีเขียวหลายแห่ง ได้ผนวกเอาแนวคิด Green เข้าไปประยุกต์ใช้ในทุกขั้นตอนกระบวนการของห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) นับตั้งแต่การเลือกใช้วัตถุดิบ, การจัดซื้อสีเขียว, บรรจุภัณฑ์สีเขียว, การตลาดสีเขียว, และการขนส่งสีเขียว เป็นต้น นอกจากนี้ ยังรวมไปถึงการนำขยะหรือของเสียกลับมาใช้ใหม่ สอดคล้องกับแนวคิดวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ที่ให้ความสาคัญตั้งแต่การออกแบบจนกระทั่งหมดอายุการใช้งาน


กระแสในเรื่องของ Green ยังมาพร้อมกับการเปิดกว้างของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ ASEAN Economic Community (AEC) ที่จะเปิดตัวขึ้นในปี 2558 หรืออีก 4 ปีข้างหน้า ซึ่งในเรื่องของ Green Productivity จะเข้ามามีส่วนในการสร้างความได้เปรียบในเชิงการแข่งขัน เพราะจะเป็นกรอบที่ทำให้ผู้ผลิตที่อยู่ในประชาคมอาเซียนต้องมีการปรับกระบวนการผลิตขนานใหญ่ เพื่อให้ทั้งกระบวนการเป็นการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม


นอกจากนี้ ประเทศพัฒนาแล้วยังได้มีความพยายามที่จะใช้ข้อกำหนดทางสิ่งแวดล้อมเข้ามามีบทบาทในทางการค้า เช่น มาตรการการปรับคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน (Border Carbon Adjustment - BCA) ซึ่งประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับการใช้ BCA เนื่องจากมองว่าเป็นการใช้เครื่องมือทางสิ่งแวดล้อมในการกีดกันทางการค้า


ด้วยเหตุผลดังกล่าวทั้ง 3 หน่วยงานที่ร่วมจัดสัมมนาในครั้งนี้ นักวิชาการ นักบริหารภาคธุรกิจ จึงพิจารณาเห็นถึงความจำเป็นที่ต้องมีการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับผลกระทบและโอกาสที่มาพร้อมกับกระแสเรื่องการให้ความสนใจด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงในกระบวนการผลิตและการดำเนินธุรกิจ เพื่อให้องค์กรธุรกิจต่างๆ ในทุกภาคส่วนมีการปรับตัวและเตรียมความพร้อมในการรับมือกับการแข่งขันที่จะเกิดขึ้น


ถ้ามองแบบเป็นบวก ต้องถือได้ว่านี่เป็นโอกาสใหม่ทางธุรกิจด้วยซ้ำ เพราะ CSR (Corporate Social Responsibility) หรือ SD (Sustainable Development) จะกลายเป็นกรอบแนวคิดของการจัดการองค์กรยุคใหม่ โดยที่แนวทางการดำเนินการแบบ GP (Green Productivity) จะเป็นเครื่องมือภาคปฏิบัติ ที่ช่วยให้นโยบาย ทิศทาง และเป้าหมายบรรลุผลนั่นเอง ด้วยการออกแบบและปรับปรุงกระบวนการภายในใหม่ทั้งหมดตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำและเลยไปถึงการจัดการหลังการใช้งานของผู้บริโภคด้วย


สิ่งที่ยืนยันความสำเร็จของการนำ GP ไปใช้ คือความมุ่งมั่นต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการนำไปปฏิบัติ ไม่ว่าเป็นเรื่อง ลดการใช้น้ำ พลังงาน สารเคมี การใช้สารอินทรีย์ที่มาจากธรรมชาติทดแทน การหมุนเวียน และการนำกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งเป็นการคำนวณผลกระทบในฝั่งผู้ผลิต (Production based) และได้มีการทดลองนำไปปฏิบัติแล้วในหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทย ภายใต้การสนับสนุนขององค์การผลิตภาพแห่งเอเชีย (Asian Productivity Organization)


นอกจากนี้อาจจะถึงเวลาแล้วก็ได้ที่ทุกคนในโลกนี้จะต้องหันกลับมาทบทวนวิถีชีวิต รูปแบบทางเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ที่เน้นการบริโภคและใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง ด้วยการคำนวณผลกระทบในฝั่งผู้บริโภค (Consumption based) ควบคู่กันไปกับการประยุกต์แนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่อยู่บนพื้นฐานของสติและปัญญา โดยคำนึงถึงความจำเป็นและความคุ้มค่าเป็นหลัก มากกว่าการตอบสนองความต้องการที่ไม่มีจุดสิ้นสุดของคน หรือประชานิยมหลงยุคแบบทุกวันนี้


จำลักษณ์ ขุนพลแก้ว

source:http://www.bangkokbiznews.com/home/details/business/ceo-blogs/jamlak/20110913/409092/%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%A2%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%A2%E0%B8%B7%E0%B8%99.html

1 ความคิดเห็น:

  1. ผมต้องเป็นพยานถึงการกระทำที่ดีของนางอแมนดาของ บริษัท สินเชื่ออแมนดา ผม Husnah และฉันสละเวลาของฉันออกไปให้ปากคำของนางอแมนดาเพราะในที่สุดเธอก็ให้ฉันสิ่งที่ไม่มีใครสามารถ
    ฉันและสามีของฉันได้เป็นหนี้ที่ใหญ่มากกับลูกหนี้และธนาคารและเราพยายามที่ยืมตัวมาจาก บริษัท สินเชื่อที่แตกต่างกัน แต่ทั้งหมดมาจะไม่มีประโยชน์ แทนพวกเขามีเราเป็นหนี้มากขึ้นและสิ้นสุดวันที่ออกจากเราล้มละลายจนกว่าฉันจะมาติดต่อกับนางอแมนดาเธอให้ฉันเงินกู้แม้ว่าตอนแรกผมก็กลัวว่ามันจะจบลงเช่นเดียวกับทุก บริษัท เงินกู้อื่น ๆ ที่ฉันมาข้าม แต่เธอก็ไม่ได้ เช่นพวกเขา ตอนนี้เรามีการตัดสินในที่สุดหนี้ของเราและเริ่มต้นธุรกิจใหม่ที่มีเงินเหลือจากการกู้ยืมเงิน
    ติดต่อนางอแมนดาผ่านของอีเมลดังต่อไปนี้ amandaloan@qualityservice.com หรือ amandaloanfirm@cash4u.com หรือคุณสามารถติดต่อเราผ่านทางอีเมลของฉันสำหรับคำสั่งต่อไป ikmahusnah@gmail.com

    ตอบลบ