วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2554

ครม.ยิ่งลักษณ์ vs ครม.เงาอภิสิทธิ์



  • โฉมหน้าครม.ยิ่งลักษณ์ คลิก !!

    • โฉมหน้าครม.เงาอภิสิทธิ์ คลิก !!
    คณะรัฐมนตรีของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศ ใครเป็นใครก็ได้รับรู้กันเป็นที่เรียบร้อย มาเจาะลึกรัฐมนตรีทั้งคณะว่ามีประวัติความเป็นมาอย่างไร เหมาะสมกับงานที่ได้รับตำแหน่งหรือไม่

    1. น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เกิดเมื่อวันที่ 21 มิ.ย. 2510 เป็นบุตรคนสุดท้อง ในจำนวน 9 คนของ นายเลิศ และนางยินดี ชินวัตร จบการศึกษาปริญญาตรีรัฐประศาสนศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อปี 2531 จากนั้นเดินทางไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยเคนทักกีเสตท สหรัฐอเมริกา สำเร็จการศึกษาปริญญาโทเป็นมหาบัณฑิตสาขารัฐประศาสนศาสตร์ เมื่อปี 2533 หลังจากนั้นก็เดินทางกลับมาประเทศไทยทำงานในบริษัทในเครื่องของพี่ชาย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

    น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร สมรสกับ นายอนุสรณ์ อมรฉัตร กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็ม ลิงค์ เอเชีย คอ์ปอเรชั่น จำกัด ของ นางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ พี่สาว โดยทั้ง 2 สองมิได้จดทะเบียนสมรถ มีบุตรชายหนึ่งคนชื่อ “น้องไปป์” ก่อนที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ จะกระโดดเข้าสู่วงการเมืองในช่วงข่าวคราวของวันเวลาที่จะมีการยุบสภาเกิดขึ้นมาได้มีกระแสข่าวออกมาตลอดเวลาว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ จะเล่นการเมืองกับพรรคเพื่อไทย แต่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ นิ่งเงียบกับกระแสข่าวลือดังกล่าว จนกระทั่งวันที่ 12 พ.ค. 2554 พรรคเพื่อไทยได้เปิดตัว น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ให้เป็นผู้สมัคร ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อลำดับที่ 1 ซึ่งถือว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้เปิดตัวในวันดังกล่าว พร้อมทั้งลงพื้นที่หาเสียงช่วยผู้สมัครของพรรคตลอดในช่วงหาเสียง ทำให้พรรคเพื่อไทยได้รับคะแนนเสียงเกิดครึ่งจากการเลือกตั้งวันที่ 3 ก.ค.2554 ถือว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ใช้เวลาเพียง 49 วันเท่านั้นในการก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดนไม่ต้องเดินทางไกลเป็นพันเป็นหมื่นลี้

    2. นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ์ เป็นรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เกิดเมื่อวันที่ 15 ก.ค.2485 จบรัฐศาสตร์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นอดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย มีตำแหน่งเป็นหัวหน้าพรรคเพื่อไทย โดยเข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 7 ธ.ค. 2551 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบันนี้ ซึ่งในแวดวงทางการเมืองมองว่า นายยงยุทธ เป็นหัวหน้าพรรคขัดตาทัพ และหลายฝ่ายวิเคราะห์วิจารณ์ว่า “นายยงยุทธ” จะนั่งเก้าอี้หัวหน้าพรรคเพื่อรอวันที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มานั่งเก้าอี้หัวหน้าพรรคอย่างเต็มตัวในอนาคตข้างหน้า

    3. ร.ต.อ. เฉลิม อยู่บำรุง เป็นรองนายกรัฐมนตรี เกิดเมื่อวันที่ 10 ก.ย.2490 เคยเป็นสารวัตรที่กองปราบปรามมาก่อนที่จะกระโดดเข้าเล่นการเมือง ได้เป็น ส.ส.ครั้งแรกสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ เป็น ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์แค่สมัยเดียวก็ออกจากพรรค เพื่อตั้งพรรคการเมืองใหม่ขึ้นมาเอง ใช้ชื่อว่า “พรรคมวลชน” แล้วมาร่วมกับพรรความหวังใหม่ และก็มาสังกัดพรรคเพื่อไทยในปัจจุบันนี้ เคยเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรียุติธรรม และเป็นอดีตรัฐมนตรีมหาดไทย สมัยที่ นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรีในระยะแรก ๆ เป็นเวลาไม่นานนัก ก็ต้องถูกปรับออกจากตำแหน่งไป

    4. พล.ต.อ. โกวิท วัฒนะ เป็นรองนายกรัฐมนตรี เกิดวันที่ 11 มี.ค.2490 เป็นอดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เจ้าของวลีเด็ดว่า “ม็อบมีเส้น” ในช่วงเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่มพันธมิตร ฯ หรือม็อบเสื้อเหลือง พล.ต.อ. โกวิท วัฒนะ ต้องถูกพ้นจากตำแหน่ง ผบ.ตร. ในสมัยรัฐบาลของ พล.อ.สุรยุทธ ลีลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ที่มาจากการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 ก.ย.2549 เคยเป็นอดีตรัฐมนตรีมหาดไทย สมัยพรรคพลังประชาชน เป็นรัฐบาล

    5. นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง เป็นรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เกิดเมื่อวันที่ 3 ส.ค.2501 จบปริญญาตรีเศรษฐศาสตร์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นบุคคลที่คลุกคลีในแวดวงการเงิน การลงทุน จนได้นั่งเป็นกรรมการผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เจ้าของฉายาว่า “เดอะโต้ง” เพราะมีชื่อเล่นว่า “โต้ง” เคยเป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยชินวัตร ว่ากันว่า นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง เป็นกุนซือด้านเศรษฐกิจให้แก่นายกฯยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

    6. นายชุมพล ศิลปอาชา เป็นรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เกิดเมื่อวันที่ 6 มิ.ย. 2483 จบปริญญานิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เคยเป็น ส.ส.สุพรรณบุรีหลายสมัย เป็นวุฒิสมาชิก และเคยนั่งเก้าอี้ รมว.ศึกษาธิการ ภายหลังมีการยุบพรรคชาติไทย นายชุมพล ศิลปะอาชา ก็ได้มาเป็นหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา และเป็น รมว.การท่องเที่ยวและกีฬา สมัยรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

    7. นายสุรวิทย์ คนสมบูรณ์ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เกิดวันที่ 23 เม.ย. 2492 จบแพทย์จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เคยไดรับรางวัลแพทย์ดีเด่นปี 2525 ลงเล่นการเมืองเป็น ส.ส.ชัยภูมิ ตั้งแต่ปี 2535 เคยดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็น รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง

    8. นางสาวกฤษณา สีหลักษณ์ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เกิดเมื่อวันที่ 15 มิ.ย.2505 เป็น ส.ส.อุตรดิตถ์หลายสมัย ปัจจุบันเป็น ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ของพรรคเพื่อไทย จบปริญญาสาขาบัญชี จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นนักธุรกิจท้องถิ่น และมีห้างสรรพสินค้าในจังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นสมาชิก อบจ.อุตรดิตถ์ในปี 2538 ก่อนที่จะหันมาเล่นการเมืองระดับชาติ

    9. พล.อ. ยุทธศักดิ์ ศศิประภา เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เกิดวันที่ 8 ม.ค.2480 จบการศึกษาจาก รร.นายรั้อยพระจุลจอมเกล้าปี 2504 ก่อนเกษียณอายุราชการดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงกลาโหม เมื่อเกษียณแล้วลงเล้นการเมืองพรรคไทยรักไทย จนมาถึงพรรคเพื่อไทยในปัจจุบันนี้ เป็นประธานคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย เคยนั่งเก้าอี้ รมช.กลาโหม

    10. นายธีระชัย ภูวนาทนรานุบาล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เกิดเมื่อวันที่ 21 ธ.ค.2554 จบปริญญาตรีเศรษฐศาสตร์จากอังกฤษ เริ่มทำงานที่ธนาคารแห่งประเทศไทย และเป็นรองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อปี 2545 ต่อมาเพียง 1 ปี เมื่อวันที่ 28 ธ.ค. 2546 ลาออกจากแบงก์ชาติมาดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ก.ล.ต.) นั่งทำงานในเก้าอี้เลขาธิการ ก.ล.ต.จนกระทั่งวันที่ 5 ส.ค.2554 ก็ยื่นใบลาออก มาดำรงตำแหน่ง รมว.คลังของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นับว่าเป็นผู้ที่มีความรู้ด้านเงิน ๆ ทอง ๆ ของประเทศเป็นอย่างดี

    11. นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เป็นรัฐมนตรีหน้าใหม่ แต่เล่นการเมืองมานานตั้งแต่ปี 2544 สังกัดพรรคไทยรักไทย พรรรคพลังประชาชน และพรรคเพื่อไทย เป็น ส.ส.เชียงใหม่ เกิดเมื่อวันที่ 8 ก.ค.2503 ซึ่งนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ เป็นที่รับรู้กันว่าเป็นคนสนิทของ นางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ ในช่วงที่นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี นายบุญทรง ทำหน้าที่เสมือนเลขานุการส่วนตัวนายกฯ สมชาย วงศ์สวัสดิ์

    12. นายวิรุฬ เตชะไพบูลย์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เกิดเมื่อวันที่ 4 ส.ค. 2486 เป็นนักธุรกิจด้านการธนาคารที่คนในแวดวงนักธุรกิจรู้จักกันดี เพราะธุรกิจในตระกูลเตซะไพบูลย์เป็นมากหมายหลายอย่าง ว่ามาว่านายวิรุฬ เตซะไพบูลย์ อยู่ในฐานะทุนการเมืองของพรรคไทยรักไทยเรื่อยมาจนถึงพรรคเพื่อไทยในปัจจุบันนี้ เคยดำรงตำแหน่งวุฒิสมาชิก และ รมช.พาณิชย์

    13. นายสุรพงษ์ โตวิจักษ์ชัยกุล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เกิดเมื่อวันที่ 1 พ.ค.2496 จบปริญญาเอกที่ประเทศสหรัฐอเมริกา มีชื่อเล่นว่า “ปึ้ง” ก่อนที่ ดร.สุรพงษ์ จะเล่นการเมืองกับพรรคเพื่อไทยนั้น เคยสังกัดพรรคพลังธรรมสมัย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นหัวหน้าพรรค ต่อมาได้ย้ายไปสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ได้เป็น ส.ส.เชียงใหม่ ในปี 2539 จากนั้นก็ย้ายขั้วมาอยู่กับพรรคไทยรักไทยและพรรคเพื่อไทย เลือกตั้งที่ผ่านมาได้เป็น ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อของพรรคเพื่อไทย เป็นบุคคลที่โพลระบุว่า ดร.สุรพงษ์ นั่งเก้าอี้ไม่เหมาะกับงานในตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระท่รวงการต่างประเทศ เพราะเคยแต่ผ่านงานทางด้านธุรากิจกับต่างประเทศเท่านั้น ซึ่งคงต้องให้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ฝีมือว่า ดร.สุรพงษ์ ทำงานในกระทรวงการต่างประเทศได้ดีหรือไม่ดีเพียงใด

    14. นายสันติ พร้อมพัฒน์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เกิดวันที่ 20 ก.ค. 2495 เป็นนักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่คนหนึ่ง เป็น ส ส.เพชรบูรณ์ ครั้งแรกสังกัดพรรคความหวังใหม่ หลังจากที่พรรคความหวังใหม่ยุบรวมมาอยู่กับพรรคไทยรักไทย นายสันติ พร้อมพัฒน์ ก็ตามมาอยู่พรรคไทยรักไทย จนมาถึงพรรคเพื่อไทยในปัจจุบันนี้ เป็นบุคคลที่ ส.ส.ถือว่าพึ่งได้ จึงได้เป็นแกนนำ ส.ส.ภาคเหนือคนหนึ่ง เคยนั่งเก้าอี้ รมว.คมนาตม ในสมัย นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี

    15. นายธีระ วงศ์สมุทร เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เกิดวันที่ 15 ธ.ค. 2491 จบจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้ารับราชการที่กระทาวงเกษตร ฯ จนเป็นอธิบดีกรมชลประทาน หลังจากที่พรรคชาติไทยถูกยุบ และเปลี่ยนชื่อเป็นพรรคชาติไทยพัฒนา และนายบรรหาร ศิลปะอาชา ได้ดึงตัวมาเป็น รมว.เกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

    16. นายพรศักดิ์ เจริญประเสริฐ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นรัฐมนตรีหน้าใหม่อีกผู้หนึ่งที่มาจากโควต้าทางภาคอีสาน เกิดเมื่อวันที่ 2 ก.พ. 2495 เป็น ส.ส.ศรีสะเกษ หลายสมัย ชาวบ้านรู้จักดีในชื่อ “เสี่ยลาว” เคยดำรงตำแหน่งเป็นเลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ปัจจุบันเป็น ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์

    17. พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ที่สามารถแหกโค้งในช่วงสุดท้ายโดยไม่มีใครคาดการณ์เอาไว้ เกิดเมื่อวันที่ 17 ส.ค. 2494 จบจาก รร.เตรียมทหารรุ่น 10 (ตท.10) เคยเป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็นบุคคลที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร สมัยเป็นนายกรัฐมนตรีได้วางตัวเป็นผู้บัญชาการทหารอากาศ เมื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ถูกรัฐประหาร และการเมืองเปลี่ยนขั้ว พล.อ.อ.สุกำพล ถูกย้ายไปเป็น จเรทหาร ก่อนที่จะลาออกมานั่งเก้าอี้ รมว.คมนาคม

    18. พล.ต.ท. ชัชจ์ กุลดิลก เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ก่อนเกษียณอายุราชการนั่งอยู่ในตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง และเข้าร่วมกับพรรคไทยรักไทยหลังเกษียณราชการ เกิดเมื่อวันที่ 24 มิ.ย.2486 ปัจจุบันเป็น ส.ส.ปาร์ตี้ลิสส์ของพรรค เคยผ่านงานการเมืองเป็นรองเลขาธิกานายกรัฐมนตรี

    19. นายกิตติศักดิ์ หัตถสงเคราะห์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เป็น ส.ส.อาวุโสมาหลายสมัย อายุก็อาวุโสมีอายุ 73 ปีเพราะเกิดวันที่ 30 มิ.ย.ปี 2482 สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีการเกษตร จากวิทยาลัยบัณฑิตสกลนคร และจบโทจากคณะสังคมสงเคราะห์ สาขากคระบวนการยุติธรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็น ส.ส.ครั้งแรกที่ จ.อุดรธานี พ.ศ.2522 ต่อมาแยกเป็น จ.หนองบัวลำภู ก็เป็น ส.ส.หนองบัวลำภู ต่อเนื่องเข้าสมัยที่ 12 แต่การเลือกตั้งที่ผ่านมาเป็น ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ เคยทำงานเป็นรัฐมนตรีมาก่อน โดยเป็น รมช.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี่ และเคยเป็นประธานคณะกรรมาธิการคมนาคมสภาผู้แทน ฯ มาก่อน ซึ่งอาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่ได้รับคัดเลือกให้นั่งเก้าอี้ รมช.คมนาคม

    20. นายปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นรัฐมนตรีหน้าใหม่เอี่ยมอ่องแกะกล่องของรัฐบาลชุดนี้ เป็น ส.ส.เลยมารวม 9 สมัยตั้งแต่ปี 2529 เกิดเมื่อวันที่ 2 พ.ย.2500 จบปริญญาโท มหาบัณฑิตศิลปศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฎเลย ซึ่งนายปรีชา ได้รับเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในทางลบว่าจะเหมาะสมกับตำแหน่งรัฐมนตรีทรัพยากรธรรมชาติ ฯ หรือ เพราะไม่เคยเห็นมีประสบการณ์ทางด้านนี้มาก่อน ผลของงานจะเป็นเครื่องพิสูจน์ว่ามีความสามารถหรือไม่

    21. น.อ. อนุดิษฐ์ นาครทรรพ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เกิดวันที่ 7 เม.ย. 2508 เป็นรัฐมนตรีหน้าใหม่อีกผู้หนึ่งที่หลายฝ่ายจับตาดูฝีมือในการทำงาน จบการศึกษาปริญญาวิทยาศาสตร์บัณฑิต (วิศวกรรมอากาศยาน) จาก รร.นายเรืออากาศ รุ่นที่ 30 ระหว่างรับราชการเป็นผู้บังคับฝูงบินขับไล่เอฟ 16 เล่นการเมืองเมื่อปี 2550 สังกัดพรรคพลังประชาชน

    22. นายพิชัย นริพทะพันธุ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เกิดเมื่อวันที่ 29 ต.ค.2504 เป็นนักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ อัญมณีเหมืองแร่พลอยและการส่งออก ก่อนที่จะเข้ามาเล่นการเมืองกับพรรคเพื่อไทย เคยรับตำแหน่ง รมช.คลัง มาแล้ว ไม่เคยปรากฏว่าเป็นผู้เชี้ยวชาญด้านพลังงาน เมื่อมานั่งในตำแหน่งนี้จึงเป็นที่จับตาดูของหลาย ๆ ฝ่ายเป็นพิเศษ

    23. นายภูมิ สาระผล เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เกิดวันที่ 6 พ.ย. 2495 เป็น ส.ส. 5 สมัยจาก จ.ขอนแก่น อยู่กับพรรคของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มาตลอด ไม่เคยหอบเสื้อผ้าหนีไปอยู่พรรคอื่น เลือกตั้งคราวนี้จึงได้รับความไว้วางใจให้ขึ้นเป็นรัฐมนตรีหน้าใหม่อีกคนหนึ่ง เคยผ่านงานทางการเมืองมามาก เช่น รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เลขานุการ รมว.ต่างประเทศ และ เลขานุการ รมว.ทบวงมหาวิทยาลัย เป็นต้น

    24. นายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เกิดเมื่อวันที่ 8 ส.ค.2516 เป็นลูกชายหัวแก้หัวแหวน ของ พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ ประธานที่ปรึกษาพรรคชาติไทยพัฒนา จบการศึกษาปริญญาตรีวิทยาศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยแมรี่วิลล์ รัฐมิสซูรี ประเทศ สหรัฐอเมริกา ปริญญาโทรัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง เล่นการเมืองครั้งแรกเมื่อปี 2544 เป็น ส.ส.พิจิตร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ เมื่อ พล.ต.สนั่น ออกจากพรรคประชาธิปัตย์ นายศิริวัฒน์ ก็ออกตามมาด้วย จนมาสังกัดพรรคชาติไทยพัฒนาด้วยกัน เลือกตั้งครั้งนี้ พล.ต.สนั่น ไม่ขอรับตำแหน่งรัฐมนตรี โดยผลักดันให้ลูกชายตนเอง ขึ้นเป็นรัฐมนตรีหน้าใหม่แทน แม้โพลที่ออกมาจะมีเสียงยี้ถึงนายศิริวัฒน์ แต่ก็ต้องให้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ผลงานว่าจะสอบได้หรือสอบตก

    25. นายชูชาติ หาญสวัสดิ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เกิดเมื่อวันที่ 12 เม.ย.2489 เป็นน้องชายของนายชูชีพ หาญสวัสดิ์ อดี่ต ส.ส.ผูกขาดของเมืองปทุมธานี เล่นการเมืองได้รับเลือกเป็น ส.ส.ปทุมธานีมาตั้งแต่ปี 2529 เคยดำรงตำแหน่งทางการเมืองมาหลายกระทรวง เช่น เป็น่เลขานุการ รมว.ทบวงมหาวิทยาลัย ที่ปรึกษา รมว.มหาดไทย เป็นต้น

    26. นายฐานิสร์ เทียนทอง เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เกิดวันที่ 30 ก.ค.2512 จบปริญญาโทด้านบริหารการศึกษา จากมหาวิทยาลัยบูรภา เป็นหลานของ “ป๋าเสนาะ เทียนทอง” นักการเมืองรุ่นลายครามและผูกขาดของ จ.สระแก้ว จากการที่เป็นหลานรักของ “ป๋าเสนาะ” จึงได้รับการผลักดันจากผู้เป็นลุงให้นั่งเก้าอี้ รมช.มหาดไทย สมใจตระกูล”เทียนทอง” ปัจจุบันเป็น ส.ส.สระแก้ว งานการเมืองที่ผ่านมา เคยเป็นที่ปรึกษา รมว.มหาดไทย ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี และ รมว.ศึกษาธิการ

    27. พล.ต.อ. ประชา พรหมนอก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เกิดวันที่ 18 พ.ค.2485 จบจาก รร.เตรียมทหาร รุ่นที่ 3 เข้าเรียน รร.นายร้อยตำรวจ รุ่นที่ 18 รับราชการในพื้นที่ภาคอีสานจนได้ฉายาว่า “อินทรีอีสาน” ได้รับการแต่งตั้งเป็น ผบ.ตร.คนแรก หลังจากที่ได้มีการปรับเปลี่ยนกรมตำรวจ มาเป็นสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และลาออกจากเก้าอี้ ผบ.ตร.ก่อนเกษียณ เพื่อไปนั่งเก้าอี้รัฐมนตรีแรงงาน สังกัดพรรคชาติพัฒนา สมัยนายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรีสมัยที่ 2 จากนั้นก็ห่างเหินการเมืองไปเล็กน้อย และเข้ามาอยู่กับพรรคเพื่อแผ่นดิน มีปัญหากับกรรมการบริหารพรรคทำให้ต้องลาออกจากพรรคในที่สุด ก่อนการเลือกตั้งวันที่ 3 ก.ค.2554 ไม่นาน พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก ก็ประกาศตัวเข้าพรรคเพื่อไทย และได้เป็น ส.ส.ปาร็ตี้ลิสต์ของพรรคในปัจจุบันนี้

    28. นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เกิดเมื่อวันที่ 2 ก.พ.2492 จบปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเซ็นต์หลุยส์ มิสซูรี่จากสหรัฐอเมริกา เป็นพี่น้องตระกูล “สะสมทรัพย์” ที่มีชื่อเสียงของจังหวัดนครปฐม เริ่มเล่นการเมืองปี 2521 เป็น ส.ส.ผูกขาดมาตลอด เคยนั่งเก้าอี้ รมช.คมนาคม สมัยนายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรีหนที่ 2 งวดนี้ได้รับการขยับขึ้นเป็นรัฐมนตรีว่าการ

    29. นางสุกุมล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เกิดเมื่อวันที่ 25 ก.ย.2518 จบปริญญาตรีบริหารธุรกิจจากเอแบค สมัคร ส.ส.ชลบุรี พรรคพลังชล ครั้งแรก ได้รับเลือกเป็น ส.ส.สมความตั้งใจของตระกูล”คุณปลื้ม” เป็น ส.ส.ครั้งแรกก็ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีอย่างไม่มีปัญหา เพราะเป็นศรีภริยาของ “สนธยา คุณปลื้ม” แกนนำพรรคพลังชล

    30.นายปลอดประสพ สุรัสวดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เกิดวันที่ 3 มี.ค. 2488 จบปริญญาตรีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปริญญาโทบริหารการประมง มหาวิทยาลัยโอเรกอน สหรัฐอเมริกา ปริญญาเอกด้านนิเวศวิทยา มหาวิทยาลัยมานิโตบา ประเทศแคนนาดา เคยเป็นอดีตอธิบดีกรมประมง อธิบดีกรมป่าไม้ และเป็นปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เริ่มเล่นการเมืองสังกัดพรรคพลังประชาชน ปัจจุบันเป็นรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ตอนแรกหลายฝ่ายคาดการณ์ว่า นายปลอดประสพ จะนั่งเก้าอี้ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพราะรู้งานในกระทรวงทรัพยากรฯ แต่ในที่สุดก็ถูกจัดให้เป็นนั่งเก้าอี้ที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งหลาย ๆ ฝ่ายก็เฝ้าจับตาดูผลงานอยู่

    31. นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เกิดเมื่อวันที่ 2 พ.ค.2502 จบปริญญาตรีจากคณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เริ่มเล่นการเมืองปี 2539 สังกัดพรรคชาติไทย แล้วย้ายมาอยู่กับพรรคไทยรักไทยเมื่อปี 2544 เมื่อพรรคไทยรักไทยถูกยุบ เปลี่ยนชื่อเป็นพรรคพลังประชาชน และพรรคเพื่อไทย นายวรวัจน์ ก็อยู่กับพรรค “ทักษิณ” มาตลอด ว่ามาว่าเป็นคนสนิทของนางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ แกนนำกลุ่มวังบัวบานของพรรคเพื่อไทย

    32.นางบุญรื่น ศรีธเรศ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเป็นรัฐมนตรีหน้าใหม่ถอดด้าม แม้อายุอานามถือว่าเป็นผู้อาวุโส เพราะเกิดวันที่ 10 ต.ค.2489 จบปริญญาตรีคุรุศาสตร์บัณฑิตจากวิทยาลัยครูมหาสารคาม ภรรยานายสังข์ทอง ศรีธเรศ อดีต รมช.ศึกษาธิการ หลังสามีเสียชีวิตลง นางบุญรื่น ก็ลงเล่นการเมืองสืบทอดเจตนารมณ์ของสามี โดยสังกัดพรรคไทยรักไทย ซึ่ง ส.ส.ในพรรคเรียกว่า “ป้ารื่น” มีข่าววงในว่าเป็น ส.ส.หญิงอาวุโสที่ใกล้ชิดกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

    33.นายสุรพงษ์ อึ้งอัมพรวิไล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จบ ปริญญาตรีนิติศาสตร์บัณฑิต จากมหาวิทยาลัยศรีปทุม ปริญญาโทรัฐศาสตร์ สาขาบริหารรัฐกิจ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นรัฐมนตรีหน้าใหม่อีกคนที่ประชาชนยังอาจจะจำชื่อเสียงเรียงนามไม่ค่อยได้ แต่ชาวปทุมธานีรู้จักกันดี เพราะเป็นสมาชิกสภาจังหวัดปทุมธานี 2 สมัย นายก อบจ.ปทุมธานี เกิดเมื่อวันที่ 17 ธ.ค.2500 ลงเล่นการเมืองระดับชาติเมื่อปี 2544 สังกัดพรรคอื่นก่อนที่ย้ายมาสังกัดพรรคเพื่อไทยในปัจจุบันี้

    34.นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เกิดเมื่อวันที่ 12 ม.ค.2503 จบปริญญาตรีศิลปศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา ปริญญาโทรัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็น ส.ส.พรรคไทยรักไทยในการเลือกตั้งปี 2544 อยู่กับพรรคของ “ทักษิณ” มาตลอดจนพรรคเปลี่ยนชื่อเป็น พรรคเพื่อไทยในปัจจุบันนี้ ไม่เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีมาก่อน สมัยนายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี เป็นประธานวิปรัฐบาล ระหว่างที่พรรคเพื่อไทยเป็นฝ่ายค้าน ก็นั่งเก้าอี้ประธานวิปฝ่ายค้าน

    35.นายต่อพงษ์ ไชยสาส์น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นบุตรชายของ นายประจวบ ไชยสาส์น นักการเมืองอาวุโสชื่อดังที่มีฉายาว่า “อีดี้จวบ” เกิดวันที่ 7 ต.ค. 2512 จบปริญญาตรีจากสถาบันกอล์ฟซานดิเอโก สหรัฐ ปริญญาโทบริหารธุรกิจ วิทยาลัยอเมริกา และปริญญาโทรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เข้าสู่การเมืองเจริญรอยตามผู้เป็นบิดา โดยเป็น ส.ส.อุดรธานีครั้งแรกเมื่อปี 2545 เคยเป็นรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ไม่เคยเป็นรัฐมนตรีก่อน ครั้งนี้ครั้งแรกที่ได้นั่งเก้าอี้รัฐมนตรี

    36.นายวรรณรัตน์ ชาญนุกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เกิดเมื่อวันที่ 8 มี.ค.2492 เป็นคู่เขยกับนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ นักการเมืองคนดังของชาวโคราช จบแพทย์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิตจาก มหาวิทยาลัยฮาวาย สหรัฐอเมริกา ได้รับการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ.2535 สังกัดพรรคชาติพัฒนา ปัจจุบันเป็นหัวหน้าพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน เคยนั่งเก้าอี้ รมว.แรงงาน สมัยรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้นั่งเก้าอี้ รมว.พลังงาน


    ครม.เงาของ “ฝ่ายค้าน” นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

    คณะรัฐมนตรีเงาของ “ฝ่ายค้าน” ที่มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านว่า แต่รัฐมนตรีเงาของพรรคพรรคประชาธิปัตย์ โดยไม่มีพรรคฝ่ายค้านอื่นเข้ามาร่วมเป็นรัฐมนตรีเงาด้วย ซึ่งทางพรรคประชาธิปัตย์ ได้ประกาศแต่งตั้งไปเรียบร้อยแล้ว ส่วนใหญ่แล้วก็เคยนั่งเก้าอี้รัฐมนตรีมาก่อน และประชาชนคงได้รับรู้ประวัติพร้อมทั้งผลงานในอดีตกันดีอยู่แล้ว มาลองเปรียบเทียบดูว่ารัฐมนตรีตัวจริง กับรัฐมนตรีเงา พอที่จะสูสีกันหรือไม่

    1.นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้าน ควบรมว.กลาโหมเงา

    2. นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เป็น รมว.มหาดไทยเงา

    3.นายกรณ์ จาติกวณิช เป็นรองนายกฯเงา ดูด้านเศรษฐกิจ

    4.นายกษิต ภิรมย์ เป็นรองนายกฯเงา ดูแลด้านต่างประเทศ

    5.นายชำนิ ศักดิเศรษฐ์ เป็นรองนายกฯ เงา

    6.นายเกียรติ สิทธิอมร เป็นรองนายกฯ เงา

    7.นายจุติ ไกรฤกษ์ เป็น รมว.คลังเงา

    8.นายองอาจ คล้ามไพบูลย์เป็น รมว.ต่างประเทศเงา

    9.นายถาวร เสนเนียม เป็น รมว.ยุติธรรมเงา

    10.นายศิริโชค โสภา เป็น รมว.ไอซีทีเงา

    11.นายเทพไท เสนพงศ์ เป็น รมต.ประจำสำนักนายกฯเงา

    12. นายพีระพันธ์ สาลีรัฐวิภาค เป็น รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

    13. นายสาธิต ปิตุเตชะ เป็น รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเงา

    14. นายสรรเสริญ สมะลาภา เป็น รมช.คลังเงา

    15.นายนิพิฎฐ์ อินทรสมบัติ เป็น รมช.มหาดไทยเงา

    16.นายเจะอามิง โตะตาหยง เป็น รมช.มหาดไทยเงา

    17.นายวิฑูรย์ นามบุตร เป็น รมว.คมนาคมเงา

    18.นายสามารถ ราชพลสิทธิ์ เป็น รมช.คมนาคมเงา

    19.นางอัญชลี วานิช เทพบุตร เป็น รมว.การท่องเที่ยวและกีฬาเงา

    20.นายนราพัฒน์ แก้วทอง เป็น รมช. การท่องเที่ยวและกีฬาเงา

    21.นายอิสสระ สมชัย เป็น รมว.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เงา

    22.นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ เป็น รมว.เกษตรและสหกรณ์เงา

    23.นายวิรัช ร่มเย็น เป็น รมช.เกษตรและสหกรณ์เงา

    24.นายนิพนธ์ บุญญามณี เป็น รมช.เกษตรฯเงา

    25.นายวิทยา แก้วภราดัย เป็น รมว.สาธารณสุขเงา

    26.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช เป็น รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเงา

    27.นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย เป็น รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเงา

    28.นายอลงกรณ์ พลบุตร เป็น รมว.พลังงานเงา

    29.นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน เป็น รมว.แรงงานเงา

    30.นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน เป็น รมว.พาณิชย์เงา

    31.นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม เป็น รมช.พาณิชย์เงา

    32.นายธีระ สลักเพชร เป็น รมว.วัฒนธรรมเงา

    33.นายกนก วงษ์ตระหง่าน เป็น รมว.ศึกษาธิการเงา

    34.นางศิริวรรณ ปราศจากศัตรู เป็น รมช.ศึกษาธิการเงา

    35.นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ เป็นรมว.อุตสาหกรรมเงา

    source:http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=656&contentId=162069

    ไม่มีความคิดเห็น:

    แสดงความคิดเห็น