ทรงมีพระราชดำรัสคลองลัดโพธิ์แก้น้ำท่วมได้ดี แนะให้ขยายโครงการเอาไปใช้ที่อื่น เพราะนับวันปัญหาน้ำท่วมจะรุนแรงขึ้น รับสั่งต้องรู้จักระบบการจัดการน้ำให้ถูกต้อง ทั้งการเปิด-ปิดประตูระบายน้ำ ส่วน 2 เขื่อนใหญ่ยังวิกฤติ โดยเฉพาะป่าสักชลสิทธิ์น้ำทะลักล้น ขณะที่เขื่อนแควน้อยบำรุงแดนเหลืออีกแค่ 1 เปอร์เซ็นต์ใกล้เต็ม ขณะที่ผักสดราคาพุ่งกก.ละ 100 บาท หลายจังหวัดงดจัดเทศกาลกินเจ 3,000 ครอบครัวในพยุหะติดเกาะน้ำสูง 4 เมตรไร้คนช่วยเหลือ นายกฯยิ่งลักษณ์เรียกประชุมด่วน ทั้งเหล่าบิ๊กเจ้ากระทรวงกับอีก 7 ผู้ว่าฯ เพื่อหารือแก้ปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก ปภ.เตือนระวังฝนจะตกถึง 23 ก.ย. “ธีระ” เตรียมของบ 1 หมื่นล้านบาททำ “ฟลัดเวย์” แก้น้ำท่วมริมเจ้าพระยา ส่วน สปสช.ใจป้ำช่วยผู้ประสบภัยไม่อั้น
หลายจังหวัดยังระทมกับอุทกภัยน้ำท่วม โดยระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาได้เพิ่มระดับสูงขึ้นอย่างไม่หยุด อันเนื่องมาจากมีฝนตกลงมาเมื่อวันที่ 19 ก.ย. ที่ผ่านมาหลายพื้นที่ ทำให้น้ำได้ไหลทะลักกำแพงกั้นตามแนวตลิ่ง เข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรเป็นวงกว้าง
“ธีระ”เข้าเฝ้าฯถวายรายงาน
เมื่อวันที่ 20 ก.ย. ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อเวลา 17.47 น. วันที่ 19 ก.ย.ที่ผ่านมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จออก ณ ห้องประชุมสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ชั้น 14 อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ นายธีระวงศ์สมุทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และข้าราชการกรมชลประทานเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท กราบบังคมทูลรายงานผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาแหล่งน้ำอันเนื่องมาจากโครงการพระราชดำริ 5 โครงการ ได้แก่โครงการขุนด่านปราการชลจ.นครนายก โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช จ.พัทลุง และ จ.สงขลา โครงการลุ่มน้ำก่ำ จ.สกลนคร และ จ.นครพนม โครงการเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน จ.พิษณุโลก และโครงการพัฒนาลุ่มน้ำลำพะยังตอนบน จ.กาฬสินธุ์ ซึ่งกรมชลประทานได้เร่งรัดดำเนินการก่อสร้างจนแล้วเสร็จ มีการจัดตั้งองค์กรรองรับและการบริหารการจัดการน้ำ รวมถึงการมีส่วนร่วมของรัฐบาล โดยนำเทคโนโลยีมาใช้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามแนวพระราชดำริ ทำให้ปัจจุบันโครงการดังกล่าวสามารถทำประโยชน์ให้แก่ประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ราษฎรมีแหล่งน้ำไว้ใช้ในการอุปโภคบริโภค ทำการเกษตรทั้งในฤดูฝนและหน้าแล้ง ทั้งยังได้ผลผลิตมากขึ้น ตลอดจนใช้ในการรักษาสิ่งแวดล้อม รวมถึงผลิตไฟฟ้าพลังงานน้ำได้ด้วย นอกจากนี้ยังช่วยบรรเทาอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มและสถานการณ์น้ำในปัจจุบันที่ท่วมสูงในหลายพื้นที่
คลองลัดโพธิ์แก้น้ำท่วมได้
โอกาสนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำรัส เกี่ยวกับการบรรเทาสถานการณ์น้ำท่วม โดยทรงเน้นการเปิดปิดประตูระบายน้ำ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์น้ำ และมีพระราชกระแสให้กรมชลประทานได้ขยายการจัดสร้างประตูระบายน้ำแบบคลองลัดโพธิ์ จ.สมุทรปราการ ไปยังพื้นที่อื่นๆ เนื่องจากสามารถป้องกันน้ำท่วมได้ผล ความว่า ที่อยู่ที่นี่สังเกตได้ว่า แม่น้ำเจ้าพระยานี้ก็รับน้ำได้มาก แล้วก็โดยเฉพาะโครงการที่อยู่ใกล้ ๆ แถวนี้ เรื่องที่ได้ให้ผ่านทางประตูก็ได้ผล เพราะว่าที่เห็นน้ำสูงที่ผ่านต่อหน้าเห็นได้ชัดว่า เวลาฝนตกหนักน้ำสูงขึ้นมามาก แต่ถ้าฝนหยุดเมื่อไหร่ มันสามารถที่จะลด เพราะว่าลงไปสั่งประตูน้ำที่มันผ่านลงตรงทะเล อันนี้เป็นโครงการที่ดี เห็นได้ชัดว่า ทำได้ให้ลงทะเลโดยเร็ว เพราะว่าตรงที่ผ่านโครงการลัดโพธิ์ เป็นระยะเพียงไม่กี่ร้อยเมตร ส่วนที่จะไปทางยาวต้องผ่านหลายกิโลเมตร 16-17 กม.นี่ก็ได้เห็นโครงการอะไรก็ทำได้ ซึ่งเพิ่งใช้การมาไม่นานนี้ จากนั้นหลายปีมาแล้วที่มีการทำโครงการนี้ ก็ต้องได้ผลขึ้นมา น้ำลดลงไปจริงๆ แต่ถ้าพัฒนาวิธีการนี้เพิ่มขึ้นให้ลงทะเล และชาวบ้านก็รู้แล้ว เดี๋ยวนี้ชาวบ้านเห็น ได้เห็นประสิทธิภาพของโครงการลัดโพธิ์นี้อย่างมหัศจรรย์จริง ๆ เห็นได้ชัดว่า สั่งจากข้างบนนี้ มองลงไปเห็นว่า ตอนเช้าน้ำมันขึ้น น้ำเต็มแม่น้ำ แต่เวลาปล่อยที่คลองลัดโพธิ์มันลดลงไป เวลาฝนหยุดน้ำก็ลด อันนี้ก็มีอยู่ต่อหน้าต่อตา ต้องใช้ประสิทธิภาพของคลองลัดโพธิ์
รับสั่งต้องรู้ระบบจัดการน้ำ
นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีรับสั่งแนะผู้ที่เกี่ยวข้องว่า ต้องเข้าใจกลไกการไหลของน้ำ เพื่อบริหารจัดการและจัดสรรน้ำให้ตรงกับความต้องการของแต่ละพื้นที่ ถ้าจัดสรรได้ มันก็จะทำให้บ้านเมือง และรูปร่างของเขตต่าง ๆ น้ำก็สามารถไหลไปเหนือไปใต้ได้ หรือว่าการจัดสรรน้ำในที่ต่าง ๆ นั้น ซึ่งดูก็ไม่น่าจะยาก เพราะว่าผลักน้ำขึ้นลงได้ แต่ในที่สุดก็ยากเหมือนกัน เพราะว่าพื้นที่มันราบ มันไม่มีที่ เขตที่จะให้มันไหลไปทางหนึ่งทางใด ต้องห้ามมันอยู่กับที่ จะให้ไปไหนก็ยาก แต่ถ้าศึกษาดูว่าเวลาไหนน้ำมันขึ้นลงนิดเดียวก็สามารถผลักไปอีกทาง อันนี้ก็ต้องศึกษา แล้วอย่างที่โครงการนี้ มันยากที่จะเลือกเวลาการผลักน้ำไปทางไหนหรือผลักน้ำไปทางอื่น
ส่วนเรื่องการระบายน้ำป้องกันไม่ให้น้ำท่วมนั้น ทรงย้ำว่าทุกฝ่ายทั้งผู้ใหญ่และผู้น้อยได้สนใจว่าน้ำมันลงมายังไง และก็ตัวเองที่อยู่ติดประตูน้ำไหน ต้องสนใจว่าต้องเปิดปิดอย่างไรและเมื่อไหร่ มีความสำคัญทุกคน ไม่ว่าจะเป็นการเปิดปิดให้ถูกเวลา ความเดือดร้อนของทั้งระบบก็น้อยลง อาจจะมีผิดพลาดบ้าง น้ำอาจจะท่วมบ้าง แต่น้อยมาก หรือพยายามที่จะพิจารณาว่า เราต้องดูจังหวะของการเปิดปิดประตูน้ำ เปิดไม่สำคัญเท่ากับปิด หรือปิดไม่สำคัญเท่ากับเปิด ถ้าเปิดให้ถูกต้องแล้ว น้ำก็ออกไป ไม่ต้องสูบ ถ้าเปิดเวลาถูกต้องก็เอาออกไปไม่ต้องใช้พลังงานเยอะ ปิดก็ไม่ต้องใช้พลังงาน ประหยัดทั้งเงิน ประหยัดทั้งเวลา แต่ว่าถ้าเจ้าหน้าที่รู้จักเปิดปิดถูกเวลาแล้ว เขาก็ทำหน้าที่แล้วก็ได้รับชมเชย หรือก็ต้องเข้าใจว่าที่เปิดหรือปิดทุกเวลาทุกจังหวะเท่ากับเป็นงานที่ทำที่ถูกต้องที่ดี บางทีประตูน้ำมีหน้าที่ปิด ไม่ใช่ ประตูน้ำมีหน้าที่ทั้งปิดและเปิด อันนี้ก็ต้องอธิบายให้เจ้าหน้าที่ทราบ และท่านผู้ใหญ่ก็ต้องทราบ ในเครื่องกลไกพิเศษ ต้องบอกว่าตอนไหนต้องปิดต้องเปิด เพราะไม่ใช่ภาคกลางเท่านั้นเอง ภาคใต้ก็เหมือนกัน มีเวลาที่ต้องเปิดต้องปิด ภาคอีสาน ภาคเหนือ มีเวลาที่ต้องปิดเปิดทั้งนั้น แล้วเปิดปิดถูกต้องแล้ว เป็นการประหยัดพลังงาน ประหยัดกำลังของเจ้าหน้าที่
“นายกปู”เรียกประชุมโต๊ะกลม
ด้านนายวิบูลย์ สงวนพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยสถานการณ์น้ำท่วมว่า ขณะนี้อุทกภัยน้ำท่วมได้ขยายวงกว้างในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะจังหวัดในพื้นที่ภาคกลางตอนล่าง ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำล้นตลิ่งอย่างหนัก โดย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มีความเป็นห่วงสถานการณ์น้ำท่วมที่อาจจะลุกลาม และส่งผลกระทบต่อพื้นที่กรุงเทพมหานครกับจังหวัดใกล้เคียง จึงสั่งให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จัดประชุมยุทธศาสตร์การแก้ไข ปัญหาอุทกภัยในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้เคียง ในวันที่ 21 ก.ย.นี้ เวลา 12.00 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล โดยนายกรัฐมนตรีจะเป็นประธานการประชุม เพื่อเตรียมการป้องกันและบรรเทาอุทกภัยในระยะเร่งด่วน และระยะกลางในเขตกรุงเทพมหานครกับจังหวัดใกล้เคียง
นายวิบูลย์ระบุต่อว่า สำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม ประกอบด้วยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, กระทรวงคมนาคม, กรมชลประทาน, กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย, กองทัพบก, กองทัพเรือ, สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ รวมถึงผู้ว่าราชการจังหวัด 7 จังหวัด ได้แก่กรุงเทพมหานคร, นนทบุรี, ปทุมธานี, สมุทรปราการ, ฉะเชิงเทรา, นครปฐมและ จ.สมุทรสาคร เพื่อรับทราบแนวทางการเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์อุทกภัยในแต่ละพื้นที่ พร้อมมอบนโยบายการแก้ไขปัญหาอุทกภัยในเขตกรุงเทพฯ และจังหวัดใกล้เคียง
อธิบดีฯ กล่าวอีกว่า ในการประชุมจะได้มีการพิจารณายุทธศาสตร์ การแก้ไขปัญหาอุทกภัยในเขตกรุงเทพมหานครกับจังหวัดใกล้เคียง ด้วยการเร่งรัดการดำเนินงานด้านเทคนิค เช่นการผลักดันน้ำและระบายน้ำออกสู่ทะเล การรื้อถอนสิ่งกีดขวางทางน้ำ การขุดลอกคูคลอง การขยายทางน้ำลงสู่ทะเล รวมถึงการเร่งกำจัดวัชพืชในน้ำ เพื่อให้การระบายน้ำลงสู่ทะเลเป็นไปอย่างรวดเร็วมากที่สุด ซึ่งจะช่วยลดผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วมขังในพื้นที่กรุงเทพฯ และจังหวัดใกล้เคียงไม่ให้ลุกลามและขยายวงกว้าง
เตือนฝนจะถล่มถึง 23 ก.ย.
นายวิบูลย์เปิดเผยว่า ส่วนสถานการณ์น้ำท่วมปัจจุบันมี 25 จังหวัดที่ยังได้รับผลกระทบ คือ จ.สุโขทัย, พิจิตร, พิษณุโลก,นครสวรรค์, อุทัยธานี, ชัยนาท, สิงห์บุรี, อ่างทอง, พระนครศรีอยุธยา, ลพบุรี, สระบุรี, สุพรรณบุรี, นครปฐม, ปทุมธานี, นนทบุรี, อุบลราชธานี, ยโสธร, เลย, ขอนแก่น, มหาสารคาม, ศรีสะเกษ, ฉะเชิงเทรา, นครนายก, ตาก และ จ.ปราจีนบุรี ขณะที่ลุ่มน้ำต่าง ๆ ที่ต้องเฝ้าระวังเนื่องจากมีปริมาณน้ำมากและมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มสูงขึ้น คือ 1.ลุ่มน้ำน่าน อ.ชุมแสง จ.นครสวรรค์ 2.ลุ่มน้ำปราจีนบุรี อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี 3.ลุ่มน้ำมูล อ.พิมาย จ.นครราชสีมา, อ.เมืองอุบลราชธานี, อ.กระสัง จ.บุรีรัมย์, อ.สุวรรณภูมิ จ.ร้อยเอ็ด, อ.ห้วยทับทัน อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ, อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์ 4.ลุ่มน้ำชี อ.เมืองชัยภูมิ, อ.จังหาร อ.ทุ่งเขาหลวง จ.ร้อยเอ็ด, อ.เมืองหนองบัวลำภู, อ.เมือง อ.มหาชนะชัย จ.ยโสธร, อ.เมือง อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น 5.ลุ่มน้ำโขง อ.บ้านม่วง จ.สกลนคร 6.ลุ่มน้ำสะแกกรัง อ.เมืองอุทัยธานี 7.ลุ่มน้ำท่าจีน อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี, อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม และ 8.ลุ่มน้ำเจ้าพระยามีเขตติดต่อ 8 จังหวัด ประกอบด้วย จ.อุทัยธานี, ชัยนาท, สิงห์บุรี, อ่างทอง,สุพรรณบุรี, พระนครศรีอยุธยา, ปทุมธานี และ จ.นนทบุรี
นอกจากนี้ในช่วงวันที่ 20-23 ก.ย. จะมีร่องมรสุมเลื่อนลงมาพาดตอนกลางของประเทศไทย ส่งผลให้มีฝนตกหนักในพื้นที่ภาคกลาง จ.นครนายก จ.สระแก้ว ภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง จ.อุบลราชธานี จ.ศรีสะเกษ จ.บุรีรัมย์ จ.สุรินทร์ จ.ยโสธร จ.มุกดาหาร จ.ขอนแก่น ภาคตะวันออก จ.จันทบุรี จ.ตราด ภาคใต้ฝั่งตะวันตก ตั้งแต่ จ.ระนองลงไป โดยเฉพาะพื้นที่ภาคตะวันออกให้ระวังน้ำที่ล้นมาจาก จ.นครนายก
ใต้จมบาดาลตรังหนักสุด
สำหรับสถานการณ์น้ำท่วมหลายจังหวัดยังไม่คลี่คลาย อีกทั้งมีทีท่าว่าจะรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ เริ่มที่ จ.ตรัง เมื่อกลางดึกวันเดียวกัน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ได้มีฝนตกลงมาอย่างหนักตั้งแต่หัวค่ำนานหลายชั่วโมง ทำให้น้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎร ไร่นา ประกอบกับน้ำในน้ำตกอ่างทอง หมู่ 1 ตำบลไม้ฝาด อ.สิเกา ระดับน้ำล้นจนไหลทะลักเข้ามาเพิ่มอีกทำให้ภายใน อ.สิเกาจมบาดาลภายในพริบตา ชาวบ้านต้องอพยพหนีตายขึ้นไปอยู่บนที่สูง ข้าวของสัตว์เลี้ยงหายไปกับสายน้ำที่ไหลเชี่ยวกราก เบื้องต้นยังไม่ได้รับรายงานว่ามีผู้สูญหายหรือไม่ ต้องรอตรวจสอบอย่างละเอียดอีกครั้ง ขณะที่อีกหลายจังหวัดทางภาคใต้ มีน้ำได้เข้าไหลท่วมหลายตำบลเป็นพื้นที่วงกว้างเช่นกัน
แม่น้ำเจ้าพระยาทะลัก
จ.นครสวรรค์ ผู้สื่อข่าวรายงานว่าระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มสูงขึ้น จนไหลทะลักข้ามกระสอบทรายที่วางกั้นตามแนวตลิ่ง เข้าท่วมภายในเขตเทศบาลพยุหะคีรี หมู่ 2 ,4 และหมู่ 5 โดยระดับน้ำสูงกว่า 1 เมตร รถยนต์ที่จอดไว้ตามริมถนนโดนน้ำท่วมจนเกือบมิดคัน การสัญจรต้องใช้เรืออย่างเดียว ขณะที่ตำบลยางขาว กับตำบลน้ำทรง อ.พยุหะคีรี วิกฤติหนักสุดโดยระดับน้ำสูงถึง 4 เมตร ชาวบ้านกว่า 20 หมู่บ้าน 3,000 กว่าครัวเรือนถูกตัดขาด เนื่องจากยังไม่มีหน่วยงานใดเข้าไปช่วยเหลือ ส่วนภายในเขตเทศบาลนครนครสวรรค์ บริเวณหลังโรงแรมเป็นหนึ่ง ถนนสวรรค์วิถี พนังกั้นน้ำที่ทางเทศบาลได้สร้างไว้ชั่วคราว ได้พังครืนลงมาอีกครั้ง ทำให้น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาได้ไหลทะลักเข้าท่วมอย่างรวดเร็ว จนถนนสวรรค์วิถีต้องปิดการจราจรชั่วคราว จากนั้นทางเทศบาลจึงประสานขอกำลังทหารจาก มทบ.31 มาช่วยขนกระสอบทรายมาเสริมกำแพงอีกชั้นหนึ่ง จนเหตุการณ์เข้าสู่ภาวะปกติ
ที่ จ.พิษณุโลก ระดับน้ำในแม่น้ำน่านได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากมีฝนตกลงมาอย่างต่อเนื่อง จนล้นทะลักกระสอบทรายกันน้ำเข้าท่วมในตำบลวัดจันทร์ หมู่ 7 อ.เมือง เบื้องต้นนายปรีชา เรืองจันทร์ ผวจ.พิษณุโลก ได้ประสานทหารกองพลทหารราบที่ 4 กองทัพภาคที่ 3 นำกระสอบทรายมาวางเสริมตามริมตลิ่งให้สูงขึ้น ส่วนที่ จ.กาฬสินธุ์ ระดับน้ำในเขื่อนลำปาวได้เพิ่มสูงขึ้นจนเหลือร้อยละ 8 จากก่อนหน้านี้เหลือร้อยละ 10 หากฝนยังไม่หยุดตกคาดว่าทางเขื่อนคงต้องระบายน้ำออก เพื่อป้องกันเขื่อนวิกฤติ ขณะที่อีกหลายจังหวัดจมบาดาล เช่นที่ จ.สิงห์บุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง จ.พระนครศรีอยุธยา ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยายังเพิ่มสูงขึ้น ชาวบ้านต้องมาอาศัยบนริมถนน พร้อมกับจับหนูกับงูที่มากับน้ำ ถลกหนังขายตามข้างทาง อีกส่วนนำไปประกอบอาหารประทังชีวิต
ด้านนายสมหวัง ปานสุขาร หัวหน้าโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน อ.วัดโบสถ์ จ.พิษณุโลก เปิดเผยว่า ขณะนี้ระดับน้ำในเขื่อนแควน้อยฯที่ก่อนหน้านี้อยู่ที่ 102 หลังจากเร่งระบายน้ำออกเหลือที่ 98 หรือเท่ากับ 933.83 ล้าน ลบ.ม. โดยมีน้ำไหลเข้าเขื่อนวันละ 36 ล้าน ลบ.ม. ที่ จ.ชัยภูมิระดับน้ำยังไม่ลดลง ไม่ว่าจะเป็นที่บ้านโนนหว้านไพร ตำบลชีลอง อ.เมือง และในเขตเทศบาลเมือง ย่านชุมชนขี้เหล็กใหญ่ ชุมชนหนองสังข์ ตำบลหนองนาแซง อีกทั้งคาดว่าอีก 1-2 วันน้ำจะไหลเข้าท่วมตำบลกุดตุ้ม นายจรินทร์ จักกะพาก ผวจ.ชัยภูมิ ได้แจ้งประกาศเตือนให้ประชาชนเตรียมรับสถานการณ์ไว้ตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมกับประสานชมรมร่มบินจังหวัด นำร่มบินขึ้นสำรวจความเสียหาย และให้เจ้าหน้าที่ชุดเคลื่อนที่เร็ว นำข้าวกล่องออกแจกจ่ายชาวบ้านที่ประสบภัย
ผวา 2 เขื่อนใหญ่วิกฤติสุด
ส่วนสถานการณ์การเก็บกักน้ำในเขื่อนใหญ่ ๆ ทั้ง 4 เขื่อนคือ 1.เขื่อนภูมิพล ปัจจุบันมีปริมาตรน้ำในอ่าง 11,908 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 88 ของความจุอ่าง (คิดเป็นน้ำใช้การได้ 8,108 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 60) เทียบกับปี 2553 (5,923 ล้านลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 44) มากกว่าปี 2553 จำนวน 5,985 ล้านลบ.ม. น้ำไหลลงอ่าง 80.33 ล้าน ลบ.ม. สามารถรับน้ำได้อีก 1,554 ล้านลบ.ม. 2.เขื่อนสิริกิติ์ มีปริมาตรน้ำในอ่าง 9,141 ล้านลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 96 ของความจุอ่าง (คิดเป็นน้ำใช้การได้ 6,291 ล้านลบ.ม.คิดเป็นร้อยละ 66) เทียบกับปี 2553 (7,051 ล้านลบ.ม.คิดเป็นร้อยละ 74) มากกว่าปี 2553 จำนวน 2,090 ล้านลบ.ม. น้ำไหลลงอ่าง 103.23 น้ำระบาย 56.80 ล้านลบ.ม. สามารถรับน้ำได้อีก 369 ล้าน ลบ.ม.
3.เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน มีปริมาตรน้ำในอ่าง 929 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 99 ของความจุอ่าง (คิดเป็นน้ำใช้การได้ 886 ล้านลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 94) เทียบกับปี 2553 (634 ล้านลบ.ม.คิดเป็นร้อยละ 68) มากกว่าปี 2553 จำนวน 295 ล้านลบ.ม. น้ำไหลลงอ่าง 38.50 ล้านลบ.ม. น้ำระบาย 43.20 ล้านลบ.ม. สามารถรับน้ำได้อีก 10 ล้านลบ.ม. และ 4.เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ปัจจุบันมีปริมาตรน้ำในอ่าง 890 ล้านลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 113 ของความจุอ่าง (คิดเป็นน้ำใช้การได้ 887 ล้านลบ.ม.คิดเป็นร้อยละ 113) เทียบกับปี 2553 (690 ล้านลบ.ม.คิดเป็นร้อยละ 88) มากกว่าปี 2553 จำนวน 200 ล้านลบ.ม.น้ำไหลลงอ่าง 42.96 ล้านลบ.ม. น้ำระบาย 30.29 ล้านลบ.ม. ไม่สามารถรับน้ำได้อีกแล้วเพราะระดับน้ำเกินความจุของอ่าง
“ธีระ” เตรียมของบหมื่นล้าน
ด้านนายธีระ วงศ์สมุทร รมว.เกษตรและสหกรณ์เปิดเผยว่า ขณะนี้ปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาที่ไหลลงเขื่อนเจ้าพระยา น้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ เนื่องจากน้ำจากนครสวรรค์ได้ไหลไปในเขต จ.อุทัยธานี อ่างทอง สิงห์บุรี และ จ.พระนครศรีอยุธยา ทำให้วันนี้เราเห็นได้ชัดว่า น้ำที่ผ่านแม่น้ำเจ้าพระยาค่อนข้างมาก ทั้งฝั่งตะวันออก ตะวันตก ทั้งที่แม่น้ำท่าจีนและคลองชัยนาท-ป่าสัก ตอนนี้น้ำได้เต็มความจุแล้ว โดยมีปัญหาทุกปีเมื่อฝนตกหนักในพื้นที่ ปีที่ผ่านมาเราศึกษาแนวทางที่ใกล้จะเสร็จแล้ว คือฝั่งตะวันออกที่มีความคิดจะขยายคลองชัยนาท-ป่าสัก ให้รับน้ำได้เพิ่มขึ้น และทางฝั่งตะวันตกมีแนวคิดจะแบ่งน้ำออกจากแม่น้ำเจ้าพระยาได้อย่างไร นอกจากนี้แม่น้ำท่าจีนกับคลองมะขามเฒ่า คงจะทำเป็นฟลัดเวย์ อีกแนวทางหนึ่งเพื่อตัดน้ำส่วนหนึ่งออกจากแม่น้ำเจ้าพระยาออกสู่ทะเล โดยจะตั้งงบประมาณในปีหน้า คิดว่าคงไม่ต่ำกว่า 10,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตามคงต้องศึกษารายละเอียดเพิ่มขึ้น โดยจะทำถนน 2 ข้างทาง และทำทางน้ำกว้างประมาณ 300 เมตร ช่วงที่ไม่มีน้ำผ่านจะให้เป็นพื้นที่ทำการเกษตร
“ชัยภูมิ”อ่วมน้ำไม่ลด
ส่วนที่จ.ชัยภูมิ มีรายงานว่าระดับน้ำยังไม่ลดลง ไม่ว่าจะเป็นที่บ้านโนนหว้านไพร ต.ชีลอง อ.เมืองชัยภูมิ และในเขตเทศบาลเมือง ย่านชุมชนขี้เหล็กใหญ่ ชุมชนหนองสังข์ ต.หนองนาแซง คาดว่าอีก 1-2 วันน้ำจะไหลเข้าท่วมต.กุดตุ้ม ทางด้านนายจรินทร์ จักกะพาก ผวจ.ชัยภูมิ ได้ประกาศเตือนให้ประชาชนเตรียมรับสถานการณ์ไว้ตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมกับประสานชมรมร่มบินชัยภูมิ นำร่มบินขึ้นสำรวจความเสียหาย และให้เจ้าหน้าที่ชุดเคลื่อนที่เร็ว นำข้าวกล่องออกแจกจ่ายชาวบ้านที่ประสบภัย
สปสช.ช่วยน้ำท่วมไม่อั้น
นายวิทยา บุรณศิริ รมว.สาธารณสุข ในฐานะประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า จากสถานการณ์น้ำท่วมทั้งประเทศ โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่ภาคกลางที่ท่วมหนักในขณะนี้ มีความเป็นห่วงเรื่องที่หน่วยบริการต้องส่งต่อผู้ป่วย จะเป็นไปด้วยความยากลำบาก จึงได้มอบหมายให้สปสช.จัดระบบส่งต่อผู้ป่วยในเขตน้ำท่วมให้สามารถส่งต่อได้สะดวกทุกโรงพยาบาล หากมีความจำเป็นต้องส่งต่อผู้ป่วยไปรพ.ที่มีศักยภาพมากกว่าก็ให้ดำเนินการได้ ไม่ว่าจะต้องใช้บริการทางเรือ ทางอากาศ หรือรถยนต์ก็ตาม ให้เร่งจัดการได้เลยไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายพาหนะในการส่งต่อ เนื่องจากสปสช.สามารถจัดการได้เพราะมีระเบียบรองรับอยู่แล้ว
รมว.สาธารณสุขกล่าวว่า สำหรับ การเบิกจ่ายค่าพาหนะในการรับส่งต่อผู้ป่วยจากต้นทางถึงปลายทางทั้งการใช้ทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ หรือพาหนะอื่นใดที่ได้รับการออกแบบ เพื่อการส่งต่อผู้ป่วยระหว่างการเคลื่อนย้ายหรือเดินทางนั้น ใช้อัตราการส่งต่อผู้ป่วย ดังนี้ ค่าเฮลิคอปเตอร์ ไม่เกิน 60,000 บาทต่อครั้งตามระยะเวลาในการบินและรัศมีในการบิน, อัตราค่าเรือ /แพขนานยนต์ ไม่เกิน 35,000 (ตามระยะทางและประเภทของเครื่องยนต์) ค่ารถยนต์ที่รพ.ส่งต่อไปยังรพ.ที่สามารถให้การดูแลรักษาได้ให้เบิกจ่ายในอัตราไม่เกิน 50 กิโลเมตร ให้เบิกจ่ายตามจริงในอัตราไม่เกิน 500 บาท หรือมากกว่า 50 กิโลเมตรจะได้รับการชดเชยเพิ่มกิโลเมตรละ 4 บาท ซึ่งกรณีการใช้เฮลิปคอปเตอร์นั้น เน้นการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่มีภาวะวิกฤติและเร่งด่วน จากหน่วยบริการไปยังหน่วยบริการที่มีศักยภาพที่เหมาะสม
นายวิทยาระบุอีกว่า ขณะนี้ประชาชนในพื้นที่น้ำท่วมประสบปัญหาในเรื่องเจ็บป่วย และเครียดจากเหตุการณ์น้ำท่วมจำนวนมาก ซึ่งประชาชนในระบบหลักประกันสุขภาพหรือ 30 บาทรักษาทุกโรคที่ประสบอุทกภัยนั้น สามารถเข้ารับบริการด้านสาธารณสุข จากหน่วยบริการใดก็ได้ที่อยู่ใกล้ โดยไม่ต้องไปรับบริการที่หน่วยบริการประจำก่อนและหน่วยบริการก็จะไม่เรียกเก็บค่าบริการจากประชาชน หากมีความจำเป็นก็ให้ทางหน่วยบริการดำเนินการได้ เพราะเป็นกรณีฉุกเฉิน เพื่อเป็นการช่วยเหลือเร่งด่วน” นายวิทยากล่าว และว่า ขณะเดียวกันทางด้านหน่วยบริการที่ให้บริการประชาชนที่ประสบอุทกภัยแล้ว สามารถเรียกเก็บค่าบริการตามหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายกรณีอุบัติเหตุและเจ็บป่วยฉุกเฉินได้ จากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้
ยันทุกรพ.ได้เงินชดเชย
ด้านนพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสปสช. กล่าวต่อว่า รพ.ที่รับรักษาประชาชนนั้น ให้ดำเนินการตามกระบวนการเบิกจ่ายมาที่ สปสช.ตามปกติ ซึ่งหน่วยบริการทุกแห่งจะได้รับการเบิกจ่ายตามอัตราที่กำหนดโดยสปสช.ได้จัดเตรียมงบประมาณในส่วนนี้ไว้แล้วและจะเร่งรัดการดำเนินการตามกระบวนการเบิกจ่ายนี้ให้รวดเร็วขึ้นเพื่อให้รพ.ได้รับเงินเร็วขึ้นอันจะทำให้รพ.มีสภาพคล่องในภาวะวิกฤติที่ดีขึ้น ขณะที่รพ.นอกสังกัดในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เช่น รพ.เอกชน แต่มีประชาชนที่ประสบอุทกภัยใช้บริการและเจ็บป่วยฉุกเฉินสามารถเข้าไปใช้บริการด้วยสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ก็ขอให้ดำเนินการรักษาตามกระบวนการ และส่งเรื่องเบิกจ่ายมาที่สปสช.ได้ ซึ่งสปสช.ยืนยันและให้ความมั่นใจว่าทุกรพ.จะได้รับเงินชดเชยการรักษาพยาบาลกรณีอุบัติเหตุฉุกเฉินอย่างแน่นอน
ตั้ง “ยงยุทธ” ดูแลอุทกภัย
สำหรับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีให้สัมภาษณ์ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุม ครม.ว่า ที่ประชุม ครม.มีความเห็นชอบให้แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการแก้ไขปัญหาอุทกภัยดินโคลนถล่ม ภัยแล้ง โดยมีนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.มหาดไทย เป็นประธาน โดยคณะกรรมการชุดนี้จะเป็นคณะกรรมการกลางที่จะเข้าไปดูแลแก้ไขปัญหา และจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ เพื่อหาข้อสรุปจากข้อเสนอต่าง ๆ ที่มีมา ส่วนนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์ระหว่างลงพื้นที่ดูน้ำท่วมที่ จ.สระบุรี ว่า ในการประชุม ครม.เงาวันที่21 ก.ย.นี้ จะรวบรวมปัญหาและข้อเสนอแนะต่อรัฐบาล ให้ทำอย่างเป็นระบบ เพราะแต่ละพื้นที่มีปัญหาและความต้องการที่หลากหลาย โดยขอย้ำว่าอย่าไปคิดยึดกับบางระกำโมเดล เนื่องจากสภาพปัญหาแต่ละพื้นที่แตกต่างกัน
ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ต้องปิดโรงเรียนไปแล้ว 2,000 แห่งใน 55 จังหวัด 154 เขตพื้นที่การศึกษา มูลค่าความเสียหายราว 1,045 ล้านบาท ส่วน ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่ากรุงเทพมหานคร มาเป็นประธานการประชุมบูรณาการแผนป้องกันน้ำท่วมของกรุงเทพฯร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเตรียมนำเสนอแผนงานต่อนายกรัฐมนตรีในวันที่ 21 ก.ย. โดยทาง กทม.จะขอถนนที่อยู่ในกรุงเทพฯแต่ตกอยู่ในความดูแลของกรมทางหลวงชนบท (ทช.) มาดูแลเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมให้เกิดความคล่องตัว และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
คนจนอ้วกผักกก.ละร้อย
ขณะเดียวกันผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะนี้ผลกระทบจากเหตุน้ำท่วมหลายพื้นที่ ส่งผลให้ราคาผักสดในกรุงเทพฯกับปริมณฑลปรับตัวสูงขึ้นตั้งแต่ กก.ละ 5-10 บาท โดยผักคะน้าเพิ่มเป็น กก.ละ 30-32 บาท ผักบุ้งจีน 28-30 บาท กวางตุ้ง 25-28 บาท กะหล่ำปลี 18-20 บาท ผักชีขีดละ 8-9 บาท ต้นหอม 7-8 บาท ขึ้นฉ่าย 9-10 บาท อีกทั้งมีแนวโน้มว่าจะปรับราคาขึ้นอีก เพราะยังมีน้ำท่วมขังต่อเนื่อง และเส้นทางขนส่งถูกตัดขาด รวมถึงจะมีความต้องการบริโภคผักเพิ่มในช่วงกินเจ ทำให้คาดว่าปีนี้เทศกาลกินเจหลายจังหวัดคงงด เนื่องจากทั้งปัญหาน้ำท่วมและราคาผักสดแพงชนิดคนจนไม่กล้าซื้อ
นางวัชรี วิมุกตายน อธิบดีกรมการค้าภายในเปิดเผยว่า ตนสั่งให้เจ้าหน้าที่จับตาราคาผักสด ผลไม้ในช่วงนี้อย่างใกล้ชิด เพื่อไม่ให้มีการฉวยโอกาสขึ้นราคาจนผู้บริโภคเดือดร้อน หากประชาชนพื้นที่ใดได้รับความเดือดร้อน สามารถแจ้งสายด่วนกรมการค้าภายใน 1569 นอกจากนี้กรมฯพร้อมจะประสานนำผักสดไปจำหน่ายให้ เพราะขณะนี้แหล่งเพาะปลูกผักสำคัญใน จ.นครราชสีมา นครปฐม และ จ.ราชบุรี ยังไม่ได้รับความเสียหาย เชื่อว่าราคาผักสดจะไม่แพงขึ้นรุนแรงเหมือนปีที่แล้ว
น.ส.อนุตตมา อมรวิวัฒน์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีระบุว่า ที่ประชุมครม.มีมติเห็นชอบ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอให้ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) จัดเตรียมวงเงินสินเชื่อ 2,000 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ประสบปัญหา ทั้งภาคเหนือ อีสาน และภาคกลางรวม 41 จังหวัด เพื่อนำไปใช้ฟื้นฟูและเป็นเงินทุนหมุนเวียนกิจการ โดยมีเงื่อนไขให้รายละไม่เกิน 1,000,000 บาท โดยไม่ต้องใช้หลักประกัน ซึ่งดอกเบี้ยคงที่ 8% ต่อปีตลอดสัญญา โดยรัฐจะช่วยชดเชยดอกเบี้ยให้ 2% ทุกปี และปลอดเงินต้น 2 ปีแรก
ฟิล์ม-แพนเค้กแจกข้าวกล่อง
วันเดียวกันที่ชุมชนบ้านรอ จ.อ่างทอง กลุ่มศิลปินลูกศิษย์พระอาจารย์ ว.วชิรเมธี ได้จัดโครงการ “เปลี่ยนความดัง ให้เป็นความดี” ด้วยการจัดตั้งโรงทาน ทำอาหารแจกผู้ประสบอุทกภัย โดยมีศิลปินดังจากค่ายอาร์เอส อาทิ ฟิล์ม-รัฐภูมิ โตคงทรัพย์, แพนเค้ก-เขมนิจ จามิกรณ์, อาภาพร นครสวรรค์ มาร่วมตักอาหารแจกจ่ายแก่ผู้ประสบภัยที่มาเข้าแถวรอรับไม่ขาดสาย โดยมีนายวิศวะ ศะศิสมิต ผวจ.อ่างทอง มาให้การต้อนรับ ขณะเดียวกันที่สนามการท่าเรือแห่งประเทศไทย ได้มีการแข่งขันฟุตบอลการกุศลรวมน้ำใจช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ระหว่างทีม ส.ส.นักการเมืองฝ่ายรัฐบาล นำโดยนายจตุพร พรหมพันธ์ุ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ นพ.เหวง โตจิราการ และนายวัฒนา เมืองสุข กับทีมรวมดารา ที่นำโดย “เป็ด เชิญยิ้ม”- ธัญญา โพธิ์วิจิตร, เกรท วรินทรปัญหกาญจน์, กิก ดนัย จารุจินดา และสุทิน-สุรักไชยกิตติ อดีตนักฟุตบอลทีมชาติไทย
“แพนเค้ก” รับบริจาคเงิน
ขณะที่บริเวณป้ายรถเมล์ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ พล.ต.ต.วิชัย สังข์ประไพ ผบก.น.1 พร้อม แพนเค้ก-เขมนิจ จามิกรณ์ นางเอกสาวชื่อดัง และตำรวจหญิงชุดกองร้อยน้ำหวานกว่า 30 นาย นำกล่องรับบริจาคเงินจากประชาชน เพื่อช่วยเหลือชาวบ้านที่ประสบภัยน้ำท่วม โดยแพนเค้กขึ้นโชว์ลูกคอร้องเพลง ก่อนเดินถือกล่องรับบริจาคขึ้นไปบนสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส โดยได้รับความสนใจจากประชาชนเป็นอย่างมาก.
source:http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=420&contentID=164793
หลายจังหวัดยังระทมกับอุทกภัยน้ำท่วม โดยระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาได้เพิ่มระดับสูงขึ้นอย่างไม่หยุด อันเนื่องมาจากมีฝนตกลงมาเมื่อวันที่ 19 ก.ย. ที่ผ่านมาหลายพื้นที่ ทำให้น้ำได้ไหลทะลักกำแพงกั้นตามแนวตลิ่ง เข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรเป็นวงกว้าง
“ธีระ”เข้าเฝ้าฯถวายรายงาน
เมื่อวันที่ 20 ก.ย. ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อเวลา 17.47 น. วันที่ 19 ก.ย.ที่ผ่านมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จออก ณ ห้องประชุมสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ชั้น 14 อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ นายธีระวงศ์สมุทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และข้าราชการกรมชลประทานเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท กราบบังคมทูลรายงานผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาแหล่งน้ำอันเนื่องมาจากโครงการพระราชดำริ 5 โครงการ ได้แก่โครงการขุนด่านปราการชลจ.นครนายก โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช จ.พัทลุง และ จ.สงขลา โครงการลุ่มน้ำก่ำ จ.สกลนคร และ จ.นครพนม โครงการเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน จ.พิษณุโลก และโครงการพัฒนาลุ่มน้ำลำพะยังตอนบน จ.กาฬสินธุ์ ซึ่งกรมชลประทานได้เร่งรัดดำเนินการก่อสร้างจนแล้วเสร็จ มีการจัดตั้งองค์กรรองรับและการบริหารการจัดการน้ำ รวมถึงการมีส่วนร่วมของรัฐบาล โดยนำเทคโนโลยีมาใช้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามแนวพระราชดำริ ทำให้ปัจจุบันโครงการดังกล่าวสามารถทำประโยชน์ให้แก่ประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ราษฎรมีแหล่งน้ำไว้ใช้ในการอุปโภคบริโภค ทำการเกษตรทั้งในฤดูฝนและหน้าแล้ง ทั้งยังได้ผลผลิตมากขึ้น ตลอดจนใช้ในการรักษาสิ่งแวดล้อม รวมถึงผลิตไฟฟ้าพลังงานน้ำได้ด้วย นอกจากนี้ยังช่วยบรรเทาอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มและสถานการณ์น้ำในปัจจุบันที่ท่วมสูงในหลายพื้นที่
คลองลัดโพธิ์แก้น้ำท่วมได้
โอกาสนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำรัส เกี่ยวกับการบรรเทาสถานการณ์น้ำท่วม โดยทรงเน้นการเปิดปิดประตูระบายน้ำ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์น้ำ และมีพระราชกระแสให้กรมชลประทานได้ขยายการจัดสร้างประตูระบายน้ำแบบคลองลัดโพธิ์ จ.สมุทรปราการ ไปยังพื้นที่อื่นๆ เนื่องจากสามารถป้องกันน้ำท่วมได้ผล ความว่า ที่อยู่ที่นี่สังเกตได้ว่า แม่น้ำเจ้าพระยานี้ก็รับน้ำได้มาก แล้วก็โดยเฉพาะโครงการที่อยู่ใกล้ ๆ แถวนี้ เรื่องที่ได้ให้ผ่านทางประตูก็ได้ผล เพราะว่าที่เห็นน้ำสูงที่ผ่านต่อหน้าเห็นได้ชัดว่า เวลาฝนตกหนักน้ำสูงขึ้นมามาก แต่ถ้าฝนหยุดเมื่อไหร่ มันสามารถที่จะลด เพราะว่าลงไปสั่งประตูน้ำที่มันผ่านลงตรงทะเล อันนี้เป็นโครงการที่ดี เห็นได้ชัดว่า ทำได้ให้ลงทะเลโดยเร็ว เพราะว่าตรงที่ผ่านโครงการลัดโพธิ์ เป็นระยะเพียงไม่กี่ร้อยเมตร ส่วนที่จะไปทางยาวต้องผ่านหลายกิโลเมตร 16-17 กม.นี่ก็ได้เห็นโครงการอะไรก็ทำได้ ซึ่งเพิ่งใช้การมาไม่นานนี้ จากนั้นหลายปีมาแล้วที่มีการทำโครงการนี้ ก็ต้องได้ผลขึ้นมา น้ำลดลงไปจริงๆ แต่ถ้าพัฒนาวิธีการนี้เพิ่มขึ้นให้ลงทะเล และชาวบ้านก็รู้แล้ว เดี๋ยวนี้ชาวบ้านเห็น ได้เห็นประสิทธิภาพของโครงการลัดโพธิ์นี้อย่างมหัศจรรย์จริง ๆ เห็นได้ชัดว่า สั่งจากข้างบนนี้ มองลงไปเห็นว่า ตอนเช้าน้ำมันขึ้น น้ำเต็มแม่น้ำ แต่เวลาปล่อยที่คลองลัดโพธิ์มันลดลงไป เวลาฝนหยุดน้ำก็ลด อันนี้ก็มีอยู่ต่อหน้าต่อตา ต้องใช้ประสิทธิภาพของคลองลัดโพธิ์
รับสั่งต้องรู้ระบบจัดการน้ำ
นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีรับสั่งแนะผู้ที่เกี่ยวข้องว่า ต้องเข้าใจกลไกการไหลของน้ำ เพื่อบริหารจัดการและจัดสรรน้ำให้ตรงกับความต้องการของแต่ละพื้นที่ ถ้าจัดสรรได้ มันก็จะทำให้บ้านเมือง และรูปร่างของเขตต่าง ๆ น้ำก็สามารถไหลไปเหนือไปใต้ได้ หรือว่าการจัดสรรน้ำในที่ต่าง ๆ นั้น ซึ่งดูก็ไม่น่าจะยาก เพราะว่าผลักน้ำขึ้นลงได้ แต่ในที่สุดก็ยากเหมือนกัน เพราะว่าพื้นที่มันราบ มันไม่มีที่ เขตที่จะให้มันไหลไปทางหนึ่งทางใด ต้องห้ามมันอยู่กับที่ จะให้ไปไหนก็ยาก แต่ถ้าศึกษาดูว่าเวลาไหนน้ำมันขึ้นลงนิดเดียวก็สามารถผลักไปอีกทาง อันนี้ก็ต้องศึกษา แล้วอย่างที่โครงการนี้ มันยากที่จะเลือกเวลาการผลักน้ำไปทางไหนหรือผลักน้ำไปทางอื่น
ส่วนเรื่องการระบายน้ำป้องกันไม่ให้น้ำท่วมนั้น ทรงย้ำว่าทุกฝ่ายทั้งผู้ใหญ่และผู้น้อยได้สนใจว่าน้ำมันลงมายังไง และก็ตัวเองที่อยู่ติดประตูน้ำไหน ต้องสนใจว่าต้องเปิดปิดอย่างไรและเมื่อไหร่ มีความสำคัญทุกคน ไม่ว่าจะเป็นการเปิดปิดให้ถูกเวลา ความเดือดร้อนของทั้งระบบก็น้อยลง อาจจะมีผิดพลาดบ้าง น้ำอาจจะท่วมบ้าง แต่น้อยมาก หรือพยายามที่จะพิจารณาว่า เราต้องดูจังหวะของการเปิดปิดประตูน้ำ เปิดไม่สำคัญเท่ากับปิด หรือปิดไม่สำคัญเท่ากับเปิด ถ้าเปิดให้ถูกต้องแล้ว น้ำก็ออกไป ไม่ต้องสูบ ถ้าเปิดเวลาถูกต้องก็เอาออกไปไม่ต้องใช้พลังงานเยอะ ปิดก็ไม่ต้องใช้พลังงาน ประหยัดทั้งเงิน ประหยัดทั้งเวลา แต่ว่าถ้าเจ้าหน้าที่รู้จักเปิดปิดถูกเวลาแล้ว เขาก็ทำหน้าที่แล้วก็ได้รับชมเชย หรือก็ต้องเข้าใจว่าที่เปิดหรือปิดทุกเวลาทุกจังหวะเท่ากับเป็นงานที่ทำที่ถูกต้องที่ดี บางทีประตูน้ำมีหน้าที่ปิด ไม่ใช่ ประตูน้ำมีหน้าที่ทั้งปิดและเปิด อันนี้ก็ต้องอธิบายให้เจ้าหน้าที่ทราบ และท่านผู้ใหญ่ก็ต้องทราบ ในเครื่องกลไกพิเศษ ต้องบอกว่าตอนไหนต้องปิดต้องเปิด เพราะไม่ใช่ภาคกลางเท่านั้นเอง ภาคใต้ก็เหมือนกัน มีเวลาที่ต้องเปิดต้องปิด ภาคอีสาน ภาคเหนือ มีเวลาที่ต้องปิดเปิดทั้งนั้น แล้วเปิดปิดถูกต้องแล้ว เป็นการประหยัดพลังงาน ประหยัดกำลังของเจ้าหน้าที่
“นายกปู”เรียกประชุมโต๊ะกลม
ด้านนายวิบูลย์ สงวนพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยสถานการณ์น้ำท่วมว่า ขณะนี้อุทกภัยน้ำท่วมได้ขยายวงกว้างในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะจังหวัดในพื้นที่ภาคกลางตอนล่าง ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำล้นตลิ่งอย่างหนัก โดย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มีความเป็นห่วงสถานการณ์น้ำท่วมที่อาจจะลุกลาม และส่งผลกระทบต่อพื้นที่กรุงเทพมหานครกับจังหวัดใกล้เคียง จึงสั่งให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จัดประชุมยุทธศาสตร์การแก้ไข ปัญหาอุทกภัยในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้เคียง ในวันที่ 21 ก.ย.นี้ เวลา 12.00 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล โดยนายกรัฐมนตรีจะเป็นประธานการประชุม เพื่อเตรียมการป้องกันและบรรเทาอุทกภัยในระยะเร่งด่วน และระยะกลางในเขตกรุงเทพมหานครกับจังหวัดใกล้เคียง
นายวิบูลย์ระบุต่อว่า สำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม ประกอบด้วยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, กระทรวงคมนาคม, กรมชลประทาน, กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย, กองทัพบก, กองทัพเรือ, สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ รวมถึงผู้ว่าราชการจังหวัด 7 จังหวัด ได้แก่กรุงเทพมหานคร, นนทบุรี, ปทุมธานี, สมุทรปราการ, ฉะเชิงเทรา, นครปฐมและ จ.สมุทรสาคร เพื่อรับทราบแนวทางการเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์อุทกภัยในแต่ละพื้นที่ พร้อมมอบนโยบายการแก้ไขปัญหาอุทกภัยในเขตกรุงเทพฯ และจังหวัดใกล้เคียง
อธิบดีฯ กล่าวอีกว่า ในการประชุมจะได้มีการพิจารณายุทธศาสตร์ การแก้ไขปัญหาอุทกภัยในเขตกรุงเทพมหานครกับจังหวัดใกล้เคียง ด้วยการเร่งรัดการดำเนินงานด้านเทคนิค เช่นการผลักดันน้ำและระบายน้ำออกสู่ทะเล การรื้อถอนสิ่งกีดขวางทางน้ำ การขุดลอกคูคลอง การขยายทางน้ำลงสู่ทะเล รวมถึงการเร่งกำจัดวัชพืชในน้ำ เพื่อให้การระบายน้ำลงสู่ทะเลเป็นไปอย่างรวดเร็วมากที่สุด ซึ่งจะช่วยลดผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วมขังในพื้นที่กรุงเทพฯ และจังหวัดใกล้เคียงไม่ให้ลุกลามและขยายวงกว้าง
เตือนฝนจะถล่มถึง 23 ก.ย.
นายวิบูลย์เปิดเผยว่า ส่วนสถานการณ์น้ำท่วมปัจจุบันมี 25 จังหวัดที่ยังได้รับผลกระทบ คือ จ.สุโขทัย, พิจิตร, พิษณุโลก,นครสวรรค์, อุทัยธานี, ชัยนาท, สิงห์บุรี, อ่างทอง, พระนครศรีอยุธยา, ลพบุรี, สระบุรี, สุพรรณบุรี, นครปฐม, ปทุมธานี, นนทบุรี, อุบลราชธานี, ยโสธร, เลย, ขอนแก่น, มหาสารคาม, ศรีสะเกษ, ฉะเชิงเทรา, นครนายก, ตาก และ จ.ปราจีนบุรี ขณะที่ลุ่มน้ำต่าง ๆ ที่ต้องเฝ้าระวังเนื่องจากมีปริมาณน้ำมากและมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มสูงขึ้น คือ 1.ลุ่มน้ำน่าน อ.ชุมแสง จ.นครสวรรค์ 2.ลุ่มน้ำปราจีนบุรี อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี 3.ลุ่มน้ำมูล อ.พิมาย จ.นครราชสีมา, อ.เมืองอุบลราชธานี, อ.กระสัง จ.บุรีรัมย์, อ.สุวรรณภูมิ จ.ร้อยเอ็ด, อ.ห้วยทับทัน อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ, อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์ 4.ลุ่มน้ำชี อ.เมืองชัยภูมิ, อ.จังหาร อ.ทุ่งเขาหลวง จ.ร้อยเอ็ด, อ.เมืองหนองบัวลำภู, อ.เมือง อ.มหาชนะชัย จ.ยโสธร, อ.เมือง อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น 5.ลุ่มน้ำโขง อ.บ้านม่วง จ.สกลนคร 6.ลุ่มน้ำสะแกกรัง อ.เมืองอุทัยธานี 7.ลุ่มน้ำท่าจีน อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี, อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม และ 8.ลุ่มน้ำเจ้าพระยามีเขตติดต่อ 8 จังหวัด ประกอบด้วย จ.อุทัยธานี, ชัยนาท, สิงห์บุรี, อ่างทอง,สุพรรณบุรี, พระนครศรีอยุธยา, ปทุมธานี และ จ.นนทบุรี
นอกจากนี้ในช่วงวันที่ 20-23 ก.ย. จะมีร่องมรสุมเลื่อนลงมาพาดตอนกลางของประเทศไทย ส่งผลให้มีฝนตกหนักในพื้นที่ภาคกลาง จ.นครนายก จ.สระแก้ว ภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง จ.อุบลราชธานี จ.ศรีสะเกษ จ.บุรีรัมย์ จ.สุรินทร์ จ.ยโสธร จ.มุกดาหาร จ.ขอนแก่น ภาคตะวันออก จ.จันทบุรี จ.ตราด ภาคใต้ฝั่งตะวันตก ตั้งแต่ จ.ระนองลงไป โดยเฉพาะพื้นที่ภาคตะวันออกให้ระวังน้ำที่ล้นมาจาก จ.นครนายก
ใต้จมบาดาลตรังหนักสุด
สำหรับสถานการณ์น้ำท่วมหลายจังหวัดยังไม่คลี่คลาย อีกทั้งมีทีท่าว่าจะรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ เริ่มที่ จ.ตรัง เมื่อกลางดึกวันเดียวกัน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ได้มีฝนตกลงมาอย่างหนักตั้งแต่หัวค่ำนานหลายชั่วโมง ทำให้น้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎร ไร่นา ประกอบกับน้ำในน้ำตกอ่างทอง หมู่ 1 ตำบลไม้ฝาด อ.สิเกา ระดับน้ำล้นจนไหลทะลักเข้ามาเพิ่มอีกทำให้ภายใน อ.สิเกาจมบาดาลภายในพริบตา ชาวบ้านต้องอพยพหนีตายขึ้นไปอยู่บนที่สูง ข้าวของสัตว์เลี้ยงหายไปกับสายน้ำที่ไหลเชี่ยวกราก เบื้องต้นยังไม่ได้รับรายงานว่ามีผู้สูญหายหรือไม่ ต้องรอตรวจสอบอย่างละเอียดอีกครั้ง ขณะที่อีกหลายจังหวัดทางภาคใต้ มีน้ำได้เข้าไหลท่วมหลายตำบลเป็นพื้นที่วงกว้างเช่นกัน
แม่น้ำเจ้าพระยาทะลัก
จ.นครสวรรค์ ผู้สื่อข่าวรายงานว่าระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มสูงขึ้น จนไหลทะลักข้ามกระสอบทรายที่วางกั้นตามแนวตลิ่ง เข้าท่วมภายในเขตเทศบาลพยุหะคีรี หมู่ 2 ,4 และหมู่ 5 โดยระดับน้ำสูงกว่า 1 เมตร รถยนต์ที่จอดไว้ตามริมถนนโดนน้ำท่วมจนเกือบมิดคัน การสัญจรต้องใช้เรืออย่างเดียว ขณะที่ตำบลยางขาว กับตำบลน้ำทรง อ.พยุหะคีรี วิกฤติหนักสุดโดยระดับน้ำสูงถึง 4 เมตร ชาวบ้านกว่า 20 หมู่บ้าน 3,000 กว่าครัวเรือนถูกตัดขาด เนื่องจากยังไม่มีหน่วยงานใดเข้าไปช่วยเหลือ ส่วนภายในเขตเทศบาลนครนครสวรรค์ บริเวณหลังโรงแรมเป็นหนึ่ง ถนนสวรรค์วิถี พนังกั้นน้ำที่ทางเทศบาลได้สร้างไว้ชั่วคราว ได้พังครืนลงมาอีกครั้ง ทำให้น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาได้ไหลทะลักเข้าท่วมอย่างรวดเร็ว จนถนนสวรรค์วิถีต้องปิดการจราจรชั่วคราว จากนั้นทางเทศบาลจึงประสานขอกำลังทหารจาก มทบ.31 มาช่วยขนกระสอบทรายมาเสริมกำแพงอีกชั้นหนึ่ง จนเหตุการณ์เข้าสู่ภาวะปกติ
ที่ จ.พิษณุโลก ระดับน้ำในแม่น้ำน่านได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากมีฝนตกลงมาอย่างต่อเนื่อง จนล้นทะลักกระสอบทรายกันน้ำเข้าท่วมในตำบลวัดจันทร์ หมู่ 7 อ.เมือง เบื้องต้นนายปรีชา เรืองจันทร์ ผวจ.พิษณุโลก ได้ประสานทหารกองพลทหารราบที่ 4 กองทัพภาคที่ 3 นำกระสอบทรายมาวางเสริมตามริมตลิ่งให้สูงขึ้น ส่วนที่ จ.กาฬสินธุ์ ระดับน้ำในเขื่อนลำปาวได้เพิ่มสูงขึ้นจนเหลือร้อยละ 8 จากก่อนหน้านี้เหลือร้อยละ 10 หากฝนยังไม่หยุดตกคาดว่าทางเขื่อนคงต้องระบายน้ำออก เพื่อป้องกันเขื่อนวิกฤติ ขณะที่อีกหลายจังหวัดจมบาดาล เช่นที่ จ.สิงห์บุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง จ.พระนครศรีอยุธยา ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยายังเพิ่มสูงขึ้น ชาวบ้านต้องมาอาศัยบนริมถนน พร้อมกับจับหนูกับงูที่มากับน้ำ ถลกหนังขายตามข้างทาง อีกส่วนนำไปประกอบอาหารประทังชีวิต
ด้านนายสมหวัง ปานสุขาร หัวหน้าโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน อ.วัดโบสถ์ จ.พิษณุโลก เปิดเผยว่า ขณะนี้ระดับน้ำในเขื่อนแควน้อยฯที่ก่อนหน้านี้อยู่ที่ 102 หลังจากเร่งระบายน้ำออกเหลือที่ 98 หรือเท่ากับ 933.83 ล้าน ลบ.ม. โดยมีน้ำไหลเข้าเขื่อนวันละ 36 ล้าน ลบ.ม. ที่ จ.ชัยภูมิระดับน้ำยังไม่ลดลง ไม่ว่าจะเป็นที่บ้านโนนหว้านไพร ตำบลชีลอง อ.เมือง และในเขตเทศบาลเมือง ย่านชุมชนขี้เหล็กใหญ่ ชุมชนหนองสังข์ ตำบลหนองนาแซง อีกทั้งคาดว่าอีก 1-2 วันน้ำจะไหลเข้าท่วมตำบลกุดตุ้ม นายจรินทร์ จักกะพาก ผวจ.ชัยภูมิ ได้แจ้งประกาศเตือนให้ประชาชนเตรียมรับสถานการณ์ไว้ตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมกับประสานชมรมร่มบินจังหวัด นำร่มบินขึ้นสำรวจความเสียหาย และให้เจ้าหน้าที่ชุดเคลื่อนที่เร็ว นำข้าวกล่องออกแจกจ่ายชาวบ้านที่ประสบภัย
ผวา 2 เขื่อนใหญ่วิกฤติสุด
ส่วนสถานการณ์การเก็บกักน้ำในเขื่อนใหญ่ ๆ ทั้ง 4 เขื่อนคือ 1.เขื่อนภูมิพล ปัจจุบันมีปริมาตรน้ำในอ่าง 11,908 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 88 ของความจุอ่าง (คิดเป็นน้ำใช้การได้ 8,108 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 60) เทียบกับปี 2553 (5,923 ล้านลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 44) มากกว่าปี 2553 จำนวน 5,985 ล้านลบ.ม. น้ำไหลลงอ่าง 80.33 ล้าน ลบ.ม. สามารถรับน้ำได้อีก 1,554 ล้านลบ.ม. 2.เขื่อนสิริกิติ์ มีปริมาตรน้ำในอ่าง 9,141 ล้านลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 96 ของความจุอ่าง (คิดเป็นน้ำใช้การได้ 6,291 ล้านลบ.ม.คิดเป็นร้อยละ 66) เทียบกับปี 2553 (7,051 ล้านลบ.ม.คิดเป็นร้อยละ 74) มากกว่าปี 2553 จำนวน 2,090 ล้านลบ.ม. น้ำไหลลงอ่าง 103.23 น้ำระบาย 56.80 ล้านลบ.ม. สามารถรับน้ำได้อีก 369 ล้าน ลบ.ม.
3.เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน มีปริมาตรน้ำในอ่าง 929 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 99 ของความจุอ่าง (คิดเป็นน้ำใช้การได้ 886 ล้านลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 94) เทียบกับปี 2553 (634 ล้านลบ.ม.คิดเป็นร้อยละ 68) มากกว่าปี 2553 จำนวน 295 ล้านลบ.ม. น้ำไหลลงอ่าง 38.50 ล้านลบ.ม. น้ำระบาย 43.20 ล้านลบ.ม. สามารถรับน้ำได้อีก 10 ล้านลบ.ม. และ 4.เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ปัจจุบันมีปริมาตรน้ำในอ่าง 890 ล้านลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 113 ของความจุอ่าง (คิดเป็นน้ำใช้การได้ 887 ล้านลบ.ม.คิดเป็นร้อยละ 113) เทียบกับปี 2553 (690 ล้านลบ.ม.คิดเป็นร้อยละ 88) มากกว่าปี 2553 จำนวน 200 ล้านลบ.ม.น้ำไหลลงอ่าง 42.96 ล้านลบ.ม. น้ำระบาย 30.29 ล้านลบ.ม. ไม่สามารถรับน้ำได้อีกแล้วเพราะระดับน้ำเกินความจุของอ่าง
“ธีระ” เตรียมของบหมื่นล้าน
ด้านนายธีระ วงศ์สมุทร รมว.เกษตรและสหกรณ์เปิดเผยว่า ขณะนี้ปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาที่ไหลลงเขื่อนเจ้าพระยา น้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ เนื่องจากน้ำจากนครสวรรค์ได้ไหลไปในเขต จ.อุทัยธานี อ่างทอง สิงห์บุรี และ จ.พระนครศรีอยุธยา ทำให้วันนี้เราเห็นได้ชัดว่า น้ำที่ผ่านแม่น้ำเจ้าพระยาค่อนข้างมาก ทั้งฝั่งตะวันออก ตะวันตก ทั้งที่แม่น้ำท่าจีนและคลองชัยนาท-ป่าสัก ตอนนี้น้ำได้เต็มความจุแล้ว โดยมีปัญหาทุกปีเมื่อฝนตกหนักในพื้นที่ ปีที่ผ่านมาเราศึกษาแนวทางที่ใกล้จะเสร็จแล้ว คือฝั่งตะวันออกที่มีความคิดจะขยายคลองชัยนาท-ป่าสัก ให้รับน้ำได้เพิ่มขึ้น และทางฝั่งตะวันตกมีแนวคิดจะแบ่งน้ำออกจากแม่น้ำเจ้าพระยาได้อย่างไร นอกจากนี้แม่น้ำท่าจีนกับคลองมะขามเฒ่า คงจะทำเป็นฟลัดเวย์ อีกแนวทางหนึ่งเพื่อตัดน้ำส่วนหนึ่งออกจากแม่น้ำเจ้าพระยาออกสู่ทะเล โดยจะตั้งงบประมาณในปีหน้า คิดว่าคงไม่ต่ำกว่า 10,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตามคงต้องศึกษารายละเอียดเพิ่มขึ้น โดยจะทำถนน 2 ข้างทาง และทำทางน้ำกว้างประมาณ 300 เมตร ช่วงที่ไม่มีน้ำผ่านจะให้เป็นพื้นที่ทำการเกษตร
“ชัยภูมิ”อ่วมน้ำไม่ลด
ส่วนที่จ.ชัยภูมิ มีรายงานว่าระดับน้ำยังไม่ลดลง ไม่ว่าจะเป็นที่บ้านโนนหว้านไพร ต.ชีลอง อ.เมืองชัยภูมิ และในเขตเทศบาลเมือง ย่านชุมชนขี้เหล็กใหญ่ ชุมชนหนองสังข์ ต.หนองนาแซง คาดว่าอีก 1-2 วันน้ำจะไหลเข้าท่วมต.กุดตุ้ม ทางด้านนายจรินทร์ จักกะพาก ผวจ.ชัยภูมิ ได้ประกาศเตือนให้ประชาชนเตรียมรับสถานการณ์ไว้ตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมกับประสานชมรมร่มบินชัยภูมิ นำร่มบินขึ้นสำรวจความเสียหาย และให้เจ้าหน้าที่ชุดเคลื่อนที่เร็ว นำข้าวกล่องออกแจกจ่ายชาวบ้านที่ประสบภัย
สปสช.ช่วยน้ำท่วมไม่อั้น
นายวิทยา บุรณศิริ รมว.สาธารณสุข ในฐานะประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า จากสถานการณ์น้ำท่วมทั้งประเทศ โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่ภาคกลางที่ท่วมหนักในขณะนี้ มีความเป็นห่วงเรื่องที่หน่วยบริการต้องส่งต่อผู้ป่วย จะเป็นไปด้วยความยากลำบาก จึงได้มอบหมายให้สปสช.จัดระบบส่งต่อผู้ป่วยในเขตน้ำท่วมให้สามารถส่งต่อได้สะดวกทุกโรงพยาบาล หากมีความจำเป็นต้องส่งต่อผู้ป่วยไปรพ.ที่มีศักยภาพมากกว่าก็ให้ดำเนินการได้ ไม่ว่าจะต้องใช้บริการทางเรือ ทางอากาศ หรือรถยนต์ก็ตาม ให้เร่งจัดการได้เลยไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายพาหนะในการส่งต่อ เนื่องจากสปสช.สามารถจัดการได้เพราะมีระเบียบรองรับอยู่แล้ว
รมว.สาธารณสุขกล่าวว่า สำหรับ การเบิกจ่ายค่าพาหนะในการรับส่งต่อผู้ป่วยจากต้นทางถึงปลายทางทั้งการใช้ทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ หรือพาหนะอื่นใดที่ได้รับการออกแบบ เพื่อการส่งต่อผู้ป่วยระหว่างการเคลื่อนย้ายหรือเดินทางนั้น ใช้อัตราการส่งต่อผู้ป่วย ดังนี้ ค่าเฮลิคอปเตอร์ ไม่เกิน 60,000 บาทต่อครั้งตามระยะเวลาในการบินและรัศมีในการบิน, อัตราค่าเรือ /แพขนานยนต์ ไม่เกิน 35,000 (ตามระยะทางและประเภทของเครื่องยนต์) ค่ารถยนต์ที่รพ.ส่งต่อไปยังรพ.ที่สามารถให้การดูแลรักษาได้ให้เบิกจ่ายในอัตราไม่เกิน 50 กิโลเมตร ให้เบิกจ่ายตามจริงในอัตราไม่เกิน 500 บาท หรือมากกว่า 50 กิโลเมตรจะได้รับการชดเชยเพิ่มกิโลเมตรละ 4 บาท ซึ่งกรณีการใช้เฮลิปคอปเตอร์นั้น เน้นการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่มีภาวะวิกฤติและเร่งด่วน จากหน่วยบริการไปยังหน่วยบริการที่มีศักยภาพที่เหมาะสม
นายวิทยาระบุอีกว่า ขณะนี้ประชาชนในพื้นที่น้ำท่วมประสบปัญหาในเรื่องเจ็บป่วย และเครียดจากเหตุการณ์น้ำท่วมจำนวนมาก ซึ่งประชาชนในระบบหลักประกันสุขภาพหรือ 30 บาทรักษาทุกโรคที่ประสบอุทกภัยนั้น สามารถเข้ารับบริการด้านสาธารณสุข จากหน่วยบริการใดก็ได้ที่อยู่ใกล้ โดยไม่ต้องไปรับบริการที่หน่วยบริการประจำก่อนและหน่วยบริการก็จะไม่เรียกเก็บค่าบริการจากประชาชน หากมีความจำเป็นก็ให้ทางหน่วยบริการดำเนินการได้ เพราะเป็นกรณีฉุกเฉิน เพื่อเป็นการช่วยเหลือเร่งด่วน” นายวิทยากล่าว และว่า ขณะเดียวกันทางด้านหน่วยบริการที่ให้บริการประชาชนที่ประสบอุทกภัยแล้ว สามารถเรียกเก็บค่าบริการตามหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายกรณีอุบัติเหตุและเจ็บป่วยฉุกเฉินได้ จากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้
ยันทุกรพ.ได้เงินชดเชย
ด้านนพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสปสช. กล่าวต่อว่า รพ.ที่รับรักษาประชาชนนั้น ให้ดำเนินการตามกระบวนการเบิกจ่ายมาที่ สปสช.ตามปกติ ซึ่งหน่วยบริการทุกแห่งจะได้รับการเบิกจ่ายตามอัตราที่กำหนดโดยสปสช.ได้จัดเตรียมงบประมาณในส่วนนี้ไว้แล้วและจะเร่งรัดการดำเนินการตามกระบวนการเบิกจ่ายนี้ให้รวดเร็วขึ้นเพื่อให้รพ.ได้รับเงินเร็วขึ้นอันจะทำให้รพ.มีสภาพคล่องในภาวะวิกฤติที่ดีขึ้น ขณะที่รพ.นอกสังกัดในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เช่น รพ.เอกชน แต่มีประชาชนที่ประสบอุทกภัยใช้บริการและเจ็บป่วยฉุกเฉินสามารถเข้าไปใช้บริการด้วยสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ก็ขอให้ดำเนินการรักษาตามกระบวนการ และส่งเรื่องเบิกจ่ายมาที่สปสช.ได้ ซึ่งสปสช.ยืนยันและให้ความมั่นใจว่าทุกรพ.จะได้รับเงินชดเชยการรักษาพยาบาลกรณีอุบัติเหตุฉุกเฉินอย่างแน่นอน
ตั้ง “ยงยุทธ” ดูแลอุทกภัย
สำหรับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีให้สัมภาษณ์ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุม ครม.ว่า ที่ประชุม ครม.มีความเห็นชอบให้แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการแก้ไขปัญหาอุทกภัยดินโคลนถล่ม ภัยแล้ง โดยมีนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.มหาดไทย เป็นประธาน โดยคณะกรรมการชุดนี้จะเป็นคณะกรรมการกลางที่จะเข้าไปดูแลแก้ไขปัญหา และจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ เพื่อหาข้อสรุปจากข้อเสนอต่าง ๆ ที่มีมา ส่วนนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์ระหว่างลงพื้นที่ดูน้ำท่วมที่ จ.สระบุรี ว่า ในการประชุม ครม.เงาวันที่21 ก.ย.นี้ จะรวบรวมปัญหาและข้อเสนอแนะต่อรัฐบาล ให้ทำอย่างเป็นระบบ เพราะแต่ละพื้นที่มีปัญหาและความต้องการที่หลากหลาย โดยขอย้ำว่าอย่าไปคิดยึดกับบางระกำโมเดล เนื่องจากสภาพปัญหาแต่ละพื้นที่แตกต่างกัน
ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ต้องปิดโรงเรียนไปแล้ว 2,000 แห่งใน 55 จังหวัด 154 เขตพื้นที่การศึกษา มูลค่าความเสียหายราว 1,045 ล้านบาท ส่วน ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่ากรุงเทพมหานคร มาเป็นประธานการประชุมบูรณาการแผนป้องกันน้ำท่วมของกรุงเทพฯร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเตรียมนำเสนอแผนงานต่อนายกรัฐมนตรีในวันที่ 21 ก.ย. โดยทาง กทม.จะขอถนนที่อยู่ในกรุงเทพฯแต่ตกอยู่ในความดูแลของกรมทางหลวงชนบท (ทช.) มาดูแลเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมให้เกิดความคล่องตัว และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
คนจนอ้วกผักกก.ละร้อย
ขณะเดียวกันผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะนี้ผลกระทบจากเหตุน้ำท่วมหลายพื้นที่ ส่งผลให้ราคาผักสดในกรุงเทพฯกับปริมณฑลปรับตัวสูงขึ้นตั้งแต่ กก.ละ 5-10 บาท โดยผักคะน้าเพิ่มเป็น กก.ละ 30-32 บาท ผักบุ้งจีน 28-30 บาท กวางตุ้ง 25-28 บาท กะหล่ำปลี 18-20 บาท ผักชีขีดละ 8-9 บาท ต้นหอม 7-8 บาท ขึ้นฉ่าย 9-10 บาท อีกทั้งมีแนวโน้มว่าจะปรับราคาขึ้นอีก เพราะยังมีน้ำท่วมขังต่อเนื่อง และเส้นทางขนส่งถูกตัดขาด รวมถึงจะมีความต้องการบริโภคผักเพิ่มในช่วงกินเจ ทำให้คาดว่าปีนี้เทศกาลกินเจหลายจังหวัดคงงด เนื่องจากทั้งปัญหาน้ำท่วมและราคาผักสดแพงชนิดคนจนไม่กล้าซื้อ
นางวัชรี วิมุกตายน อธิบดีกรมการค้าภายในเปิดเผยว่า ตนสั่งให้เจ้าหน้าที่จับตาราคาผักสด ผลไม้ในช่วงนี้อย่างใกล้ชิด เพื่อไม่ให้มีการฉวยโอกาสขึ้นราคาจนผู้บริโภคเดือดร้อน หากประชาชนพื้นที่ใดได้รับความเดือดร้อน สามารถแจ้งสายด่วนกรมการค้าภายใน 1569 นอกจากนี้กรมฯพร้อมจะประสานนำผักสดไปจำหน่ายให้ เพราะขณะนี้แหล่งเพาะปลูกผักสำคัญใน จ.นครราชสีมา นครปฐม และ จ.ราชบุรี ยังไม่ได้รับความเสียหาย เชื่อว่าราคาผักสดจะไม่แพงขึ้นรุนแรงเหมือนปีที่แล้ว
น.ส.อนุตตมา อมรวิวัฒน์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีระบุว่า ที่ประชุมครม.มีมติเห็นชอบ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอให้ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) จัดเตรียมวงเงินสินเชื่อ 2,000 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ประสบปัญหา ทั้งภาคเหนือ อีสาน และภาคกลางรวม 41 จังหวัด เพื่อนำไปใช้ฟื้นฟูและเป็นเงินทุนหมุนเวียนกิจการ โดยมีเงื่อนไขให้รายละไม่เกิน 1,000,000 บาท โดยไม่ต้องใช้หลักประกัน ซึ่งดอกเบี้ยคงที่ 8% ต่อปีตลอดสัญญา โดยรัฐจะช่วยชดเชยดอกเบี้ยให้ 2% ทุกปี และปลอดเงินต้น 2 ปีแรก
ฟิล์ม-แพนเค้กแจกข้าวกล่อง
วันเดียวกันที่ชุมชนบ้านรอ จ.อ่างทอง กลุ่มศิลปินลูกศิษย์พระอาจารย์ ว.วชิรเมธี ได้จัดโครงการ “เปลี่ยนความดัง ให้เป็นความดี” ด้วยการจัดตั้งโรงทาน ทำอาหารแจกผู้ประสบอุทกภัย โดยมีศิลปินดังจากค่ายอาร์เอส อาทิ ฟิล์ม-รัฐภูมิ โตคงทรัพย์, แพนเค้ก-เขมนิจ จามิกรณ์, อาภาพร นครสวรรค์ มาร่วมตักอาหารแจกจ่ายแก่ผู้ประสบภัยที่มาเข้าแถวรอรับไม่ขาดสาย โดยมีนายวิศวะ ศะศิสมิต ผวจ.อ่างทอง มาให้การต้อนรับ ขณะเดียวกันที่สนามการท่าเรือแห่งประเทศไทย ได้มีการแข่งขันฟุตบอลการกุศลรวมน้ำใจช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ระหว่างทีม ส.ส.นักการเมืองฝ่ายรัฐบาล นำโดยนายจตุพร พรหมพันธ์ุ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ นพ.เหวง โตจิราการ และนายวัฒนา เมืองสุข กับทีมรวมดารา ที่นำโดย “เป็ด เชิญยิ้ม”- ธัญญา โพธิ์วิจิตร, เกรท วรินทรปัญหกาญจน์, กิก ดนัย จารุจินดา และสุทิน-สุรักไชยกิตติ อดีตนักฟุตบอลทีมชาติไทย
“แพนเค้ก” รับบริจาคเงิน
ขณะที่บริเวณป้ายรถเมล์ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ พล.ต.ต.วิชัย สังข์ประไพ ผบก.น.1 พร้อม แพนเค้ก-เขมนิจ จามิกรณ์ นางเอกสาวชื่อดัง และตำรวจหญิงชุดกองร้อยน้ำหวานกว่า 30 นาย นำกล่องรับบริจาคเงินจากประชาชน เพื่อช่วยเหลือชาวบ้านที่ประสบภัยน้ำท่วม โดยแพนเค้กขึ้นโชว์ลูกคอร้องเพลง ก่อนเดินถือกล่องรับบริจาคขึ้นไปบนสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส โดยได้รับความสนใจจากประชาชนเป็นอย่างมาก.
source:http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=420&contentID=164793
ผมต้องเป็นพยานถึงการกระทำที่ดีของนางอแมนดาของ บริษัท สินเชื่ออแมนดา ผม Husnah และฉันสละเวลาของฉันออกไปให้ปากคำของนางอแมนดาเพราะในที่สุดเธอก็ให้ฉันสิ่งที่ไม่มีใครสามารถ
ตอบลบฉันและสามีของฉันได้เป็นหนี้ที่ใหญ่มากกับลูกหนี้และธนาคารและเราพยายามที่ยืมตัวมาจาก บริษัท สินเชื่อที่แตกต่างกัน แต่ทั้งหมดมาจะไม่มีประโยชน์ แทนพวกเขามีเราเป็นหนี้มากขึ้นและสิ้นสุดวันที่ออกจากเราล้มละลายจนกว่าฉันจะมาติดต่อกับนางอแมนดาเธอให้ฉันเงินกู้แม้ว่าตอนแรกผมก็กลัวว่ามันจะจบลงเช่นเดียวกับทุก บริษัท เงินกู้อื่น ๆ ที่ฉันมาข้าม แต่เธอก็ไม่ได้ เช่นพวกเขา ตอนนี้เรามีการตัดสินในที่สุดหนี้ของเราและเริ่มต้นธุรกิจใหม่ที่มีเงินเหลือจากการกู้ยืมเงิน
ติดต่อนางอแมนดาผ่านของอีเมลดังต่อไปนี้ amandaloan@qualityservice.com หรือ amandaloanfirm@cash4u.com หรือคุณสามารถติดต่อเราผ่านทางอีเมลของฉันสำหรับคำสั่งต่อไป ikmahusnah@gmail.com