ดร.รักไทย บูรพ์ภาค : ที่ปรึกษาประจำสำนักงานใหญ่ธนาคารโลกด้านนโยบายพลังงาน/สิ่งแวดล้อม และรองผู้อำนวยการศูนย์วิเคราะห์ข้อมูลด้านพลังงานมหาวิทยาลัย MIT สหรัฐอเมริกา สวัสดีอีกครั้งทุกๆ ท่าน อาทิตย์นี้ผมอยู่เมืองวอชิงตัน ดี.ซี. มีเหตุการณ์ภัยธรรมชาติมากมาย ไหนจะแผ่นดินไหว ไหนจะพายุเฮอริเคนเข้า ก็ต้องเตรียมพร้อมอยู่เสมอ ทุกๆ ท่านก็ต้องรักษาตัวด้วยเพราะตอนนี้ที่เมืองไทยก็เหมือนว่าจะเข้าช่วงฤดูฝนแล้ว รักษาตัวด้วยนะครับทุกท่าน กลับมาเรื่องที่ผมสัญญาว่าจะนำเสนอข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับเรื่องแหล่งพลังงานพื้นที่ทับซ้อนนี้ ก่อนอื่นบอกก่อนว่าทุกท่านต้องทำใจเป็นกลางแล้วมองตามภาพข้างล่าง สองภาพนี้ | |||
1. ถ้าการที่จะมีข้อมูลของสหรัฐอเมริกามาตีพิมพ์เรื่องนี้เมื่อปีที่แล้วเป็นไปได้ หรือไม่ว่าข้อมูลดิบน่าจะมีก่อนหน้านี้ถึง 3-4 ปีแล้ว 2. เป็นอีกหนึ่งเหตุผลหรือเปล่าที่ทางกัมพูชาพยายามทำให้พื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตรกลายเป็นพื้นที่ทับซ้อนแล้วทางเขาจะได้ผลประโยชน์ด้วยซึ่งทางฝั่งเขาไม่น่าจะมีสิทธิแต่แรก คราวนี้เพื่อความชัดเจน ผมเขียนจดหมายไปถึงผู้ที่จัดทำข้อมูลชุดนี้ที่ทำงานอยู่ที่กระทรวงพลังงานภายในของสหรัฐอเมริกา ผลปรากฏว่าทางเขาไม่ตอบอะไรเลย (ปกติติดต่ออะไรเขาตอบเสมอ) อาจจะเป็นเพราะว่าทางอเมริกาไม่อยากยุ่งหรือว่ามีบริษัทน้ำมันสัญชาติอเมริกาเข้าไปเอี่ยวกับทางฝั่งกัมพูชารึป่าวอันนี้ผมไม่ทราบ... แล้วจากข้อมูลที่ได้ประเด็นข้อตกลงเรื่องนี้ควรจะเป็นอย่างไรซึ่งก่อนหน้านี้มีผู้ใหญ่ประจำกระทรวงบอกว่า “แบ่งพลังงานอ่าวไทยเขมรวิน-วิน 50:50 ตรงพื้นที่ทับซ้อนใกล้ฝั่งใครเอาไป 80:20” วิน-วินจริงรึครับ?? ถ้าจากข้อมูลชุดนี้ ท่าทางว่าฝั่งกัมพูชาเขาจะวินอย่างเดียวละครับเนี่ย เพราะทางเขาไม่มีสิทธิ์ตั้งแต่แรกแล้วมันควรจะเป็นอย่างไรละ ถ้าถามผมโดยยึดผลประโยชน์ของชาติไทบเป็นหลักและอิงตามสากลควรจะเป็นอย่างนี้ 1. แหล่งน้ำมันฝั่งใครของประเทศนั้น เราก็คงไม่อยากไปเอาของเขาอยู่แล้ว 2. บนพื้นที่ทับซ้อนไทยต้องไม่ต่ำกว่า 80% เพราะเป็นแอ่งพลังงานของเราแต่แรก แต่เข้าใจว่ากลายเป็นพื้นที่ทับซ้อนเราอาจจะต้องให้เขาบ้างเพื่อจะได้มีการนำพลังงานมาใช้ทั้งสองฝ่าย โดยต้องเปิดเผยข้อมูลการขุดเจาะทั้งสองฝ่าย (ในกรณีที่เรามีข้อมูลทุกอย่างพร้อม และตัดสินใจจะนำพลังงานมาใช้) 3. แหล่งน้ำมันบริเวณฝั่งกัมพูชาเนื่องจากว่าอยู่ในแอ่งเดียวกับเรา (Thai Cenozoic Basins) เขาต้องรายงานข้อมูลการขุดเจาะรวมถึงวันที่จะเจาะในรัศมี 4-5 กิโลเมตรนับจากเขตแดนทางกัมพูชาไปในประเทศกัมพูชา และจะต้องได้รับความเห็นชอบจากเราในกรณีที่หลุมเจาะใกล้เขตแดนระหว่างประเทศในระยะ 4-5 กิโลเมตรทำไมต้องเป็นแบบนี้??? เพราะป้องกันทางฝั่งกัมพูชาใช้เทคโนโลยีในการเจาะมาลักลอบเอาน้ำมันของเรา เพราะปัจจุบันมีเทคโนโลยีการเจาะแบบแนวนอน (Horizontal Drilling) ซึ่งแต่ก่อนมีแบบแนวตั้งแบบเดียว (Vertical Drilling) และช่วงท่อแนวนอนนี้สามารถยึดไปได้ประมาณ 3-4 กิโลเมตร ซึ่งเทคโนโลยีนี้มีบางประเทศนำไปใช้ในการลักลอบน้ำมันใต้ดิน (บางแหล่งชั้นน้ำมัน Connect กันหมด) และรัฐบาลเรารวมไปถึงคนไทยเราต้องรู้ทันด้วย ตามรูปประกอบจาก Internet ข้างล่าง | |||
source:http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9540000110230 |
วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2554
บทสรุปพลังงานอ่าวไทย-กัมพูชาของใคร???
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น