วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554

ความจริง ปะทะ อุดมคติ เมื่อผู้บริโภคไม่ควักกระเป๋าจ่ายค่า ‘กรีน’

แนวคิดเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมนั้น เป็นสิ่งที่มีมาก่อนนานแล้วไม่ว่าจะเป็นการ recycle การประหยัดพลังงาน หรือการบำบัด ของเสีย แต่ก็มีการปฏิบัติอยู่ในหมู่ผู้คนกลุ่มเล็กๆ เท่านั้น ซึ่งในขณะ นั้นคงไม่มีใครคาดคิดว่าจะมีวันที่แนวคิดนี้ได้กลายเป็นสิ่งที่สามารถ นำมาใช้เป็นเครื่องมือการตลาด เพื่อเพิ่มมูลค่าของสินค้าและบริการได้

แต่เมื่อนายอัล กอร์ ได้ออกมาประกาศเตือน ถึงผลกระทบด้านต่างๆ ที่เกิดจากภาวะโลกร้อนที่เกิดจากฝีมือมนุษย์ผ่านทางภาพยนตร์เรื่อง An inconvenient Truth ซึ่งได้สร้างกระแสความตื่นตัวในการอนุรักษ์ธรรมชาติ สะท้อนไปทั่วทุกมุมโลก และเมื่อตอกย้ำด้วยข่าวสารเกี่ยวกับภัยธรรมชาติหลากหลายรูปแบบที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องทั่วโลก

การอนุรักษ์ธรรมชาติ จึงกลับกลายมาเป็น สิ่งที่อยู่ในจิตสำนึกของผู้คนส่วนใหญ่ในสังคม ซึ่งได้นำไปสู่การผลิตสินค้าที่ใช้การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเป็นจุดขาย ซึ่งมักจะมีราคาค่าตัวสูงกว่าสินค้าชนิดเดียวกันที่ผลิตตามกระบวนการปกติ เช่น อาหารออแกนิก เครื่องใช้จากวัสดุธรรมชาติ และวัสดุ recycle หรืออุปกรณ์ประหยัดพลังงาน รวมถึงแคมเปญลดโลกร้อน เช่น การใช้ถุงผ้า

แม้ดูเหมือนผู้บริโภคจะใส่ใจด้านสิ่งแวดล้อม มากขึ้น แต่ด้วยข้อเท็จจริงที่ว่าความรับผิดชอบต่อ สังคมนี้นำมาซึ่งรายจ่ายที่สูงกว่าปกติ และเมื่อประกอบกับภาวะเศรษฐกิจตกสะเก็ดทั่วโลกเช่นนี้ จึงเป็นเรื่องที่ต้องคิดกันว่าผู้บริโภคจำนวนเท่าใดที่จะยอมควักกระเป๋าจ่ายให้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้

โดยเมื่อปลายสิงหาคมที่ผ่านมาสำนักวิจัย Nielsen ได้ทำการศึกษาผู้บริโภคจาก 51 ประเทศทั่วโลก ผ่านทางอินเตอร์เน็ต ซึ่งมีจำนวนผู้เข้าร่วม กว่า 25,000 คน และพบว่า แม้ผู้บริโภคส่วนใหญ่ ซึ่งมีมากถึง 82% จะกล่าวว่าการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมนั้นเป็นเรื่องสำคัญที่แบรนด์ต่างๆ ต้องให้ความใส่ใจและลงมือกระทำการบางอย่าง แต่กลับมีเพียง 22% เท่านั้นที่ยืนยันว่าตนจะยอมจ่ายเงินมากขึ้นเพื่อซื้อผลิตภัณฑ์หรือ บริการที่มีส่วนช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

เมื่อแบ่งตามภูมิภาคแล้ว พบว่าผู้บริโภคจากตะวันออกกลางและแอฟริกา มีความจริงใจในเรื่องการอนุรักษ์ธรรมชาติมากที่สุด โดยผู้บริโภคจำนวน 1 ใน 3 หรือเท่ากับมากกว่า 30% ยอมจ่ายเงินเพิ่ม สำหรับผลิตภัณฑ์หรือบริการที่เป็น มิตรกับสิ่งแวดล้อม
ในขณะที่ภูมิภาคที่มีความเจริญ สูงอย่างอเมริกาเหนือซึ่งประกอบด้วยประเทศแคนาดาและสหรัฐอเมริกา กลับมีผู้บริโภคเพียง 12% เท่านั้นที่ยอมเพิ่มเงิน ส่วนต่างให้กับเหล่าสินค้าอนุรักษ์ธรรมชาติ

และสำหรับปัจจัยด้านความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของตัวผลิตภัณฑ์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อนั้น แม้บรรดาผู้บริโภคจะยังมีความเห็น ที่หลากหลาย แต่ที่น่าสนใจคือ ส่วนใหญ่ของกลุ่ม ตัวอย่าง เช่น 48% ในอเมริกาเหนือ หรือ 35% จากยุโรปรวมถึง 33% ของเอเชียแปซิฟิก กลับเห็นว่าปัจจัยเหล่านั้นไม่มีสาระสำคัญใดๆ และจะตัดสินใจซื้อโดยดูจากราคาเป็นหลัก

นอกจากนี้ ทัศนคติต่อผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมยังคงก้ำกึ่งอยู่ โดยจากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดมีแค่ 64% เท่านั้นที่เชื่อว่าผลิตภัณฑ์เหล่านี้จะสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงแก่สิ่งแวดล้อมได้จริง ซึ่งผู้ที่ยังสงสัยส่วนใหญ่จะมาจากยุโรป, อเมริกาเหนือ, ตะวันออกกลางและแอฟริกา ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ประกอบการที่ต้องการส่งสินค้าชนิดนี้ไปยังพื้นที่ดังกล่าวจะต้องทำการบ้านอย่างหนักเป็นพิเศษ

เมื่อลงมาในส่วนของผลจากการใช้งานต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว ผู้บริโภคส่วนใหญ่ให้ความสนใจและเชื่อมั่นในผลของการใช้หีบห่อที่มาจากวัสดุ recycle และประสิทธิภาพด้านพลังงานมากกว่าคุณสมบัติอื่นๆ เช่น การไม่ทดลองกับสัตว์ การใช้วัสดุในท้องถิ่นหรือแม้แต่การปลูกแบบออแกนิก

จากข้อมูลทั้งหมดนี้น่าจะสามารถสรุปได้ว่า หัวใจสำคัญของการสร้างสินค้าและบริการโดยอาศัยเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นตัวชูโรงนั้นก็คือ ความน่าเชื่อถือและคุณภาพ มิเช่นนั้นผลิตภัณฑ์ที่สร้าง ขึ้นอาจกลายเป็นเพียงการฟอกเขียวในสายตาของผู้บริโภค และแม้จะมีคุณสมบัติด้านอนุรักษ์ขั้นพื้นฐานหรือเป็นนามธรรมก็จะไม่เพียงพอต่อการแข่งขันในตลาดอีกต่อไป


source:http://www.siamturakij.com/home/news/display_news.php?news_id=413355444

1 ความคิดเห็น:

  1. ผมต้องเป็นพยานถึงการกระทำที่ดีของนางอแมนดาของ บริษัท สินเชื่ออแมนดา ผม Husnah และฉันสละเวลาของฉันออกไปให้ปากคำของนางอแมนดาเพราะในที่สุดเธอก็ให้ฉันสิ่งที่ไม่มีใครสามารถ
    ฉันและสามีของฉันได้เป็นหนี้ที่ใหญ่มากกับลูกหนี้และธนาคารและเราพยายามที่ยืมตัวมาจาก บริษัท สินเชื่อที่แตกต่างกัน แต่ทั้งหมดมาจะไม่มีประโยชน์ แทนพวกเขามีเราเป็นหนี้มากขึ้นและสิ้นสุดวันที่ออกจากเราล้มละลายจนกว่าฉันจะมาติดต่อกับนางอแมนดาเธอให้ฉันเงินกู้แม้ว่าตอนแรกผมก็กลัวว่ามันจะจบลงเช่นเดียวกับทุก บริษัท เงินกู้อื่น ๆ ที่ฉันมาข้าม แต่เธอก็ไม่ได้ เช่นพวกเขา ตอนนี้เรามีการตัดสินในที่สุดหนี้ของเราและเริ่มต้นธุรกิจใหม่ที่มีเงินเหลือจากการกู้ยืมเงิน
    ติดต่อนางอแมนดาผ่านของอีเมลดังต่อไปนี้ amandaloan@qualityservice.com หรือ amandaloanfirm@cash4u.com หรือคุณสามารถติดต่อเราผ่านทางอีเมลของฉันสำหรับคำสั่งต่อไป ikmahusnah@gmail.com

    ตอบลบ